วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เอกสารอ่านประกอบการเขียนรายงานวิจัยในชั้นเรียน และการศึกษาเฉพาะรายกรณี

เอกสารอ่านประกอบการเขียนรายงานวิจัยในชั้นเรียน และการศึกษาเฉพาะรายกรณี
http://www.4shared.com/folder/Q7zURUfP/_online.html


เอกสารประกอบด้วย
แบบฝึกเขียนรายงานวิจัยในชั้นเรียน.pdf
http://www.4shared.com/document/cbvkL_zS/_online.html
- ปรับจากคู่มือเขียนรายงานวิจัย จากงานวิจัย เรื่อง การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้สำหรับครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน(ทิพจุฑา สุภิมารส, 2551)

การเขียนรายงานวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
http://www.4shared.com/document/Or4PB0X5/___6p.html
- ย่อเหลือ 6 หน้า (เฉพาะการเขียนบรรณานุกรมและเอกสารที่ใช้บ่อยๆ) สามารถ Load เล่มเต็ม (PDF) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ได้ที่ http://graduate.srru.ac.th/room53/detail.php?id=1


การเขียนรายงานวิจัยในชั้นเรียน และตัวอย่าง(แนวคิดในการทำวิจัย)
http://www.4shared.com/document/djgb7R3X/___.html
- นำมาบางส่วนจาก เอกสารชุดฝึกอบรมครู
: ประมวลสาระ บทที่ 7 การวิจัยในชั้นเรียน เขียนโดย ดร.ไพจิตร สดวกการ และ ดร.ศิริกาญจน์ โกสุมภ์

วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

คู่มือการเขียนวิทยานิพนธ์ และภาคนิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

UPDATE #CHECK4กพ65  Link OK 
คู่มือการเขียนวิทยานิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
(ม.ป.ป.) - ฉบับล่าสุด (ข้อมูล ปี 2560)

Link download : https://bandhit.srru.ac.th/wp-content/uploads/2017/09/thesis60-1.pdf


และ คู่มือการเขียนภาคนิพนธ์ (สารนิพนธ์  การศึกษาค้นคว้าอิสระ และ การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง) 
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
(ม.ป.ป.) - ฉบับล่าสุด (ข้อมูล ปี 2560)

Link download : https://bandhit.srru.ac.th/wp-content/uploads/2017/09/pthesis.pdf

ป.ล. - แนะนำให้โหลดไว้ก่อน จะโหลดบ่ได้เด้อ :) 

>>>>>>>>>>>>>>>>>>
- ข้อมูลเดิม -

คู่มือวิทยานิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ (ปรับปรุง ปี 2554)
          
คู่มือ “วิทยานิพนธ์” ฉบับปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อหาให้สมบูรณ์มากขึ้น 
โดยยึดหลักเกณฑ์ที่เป็นสากลจากเอกสารต่างๆ ได้แก่ คู่มือการเขียนเอกสารอ้างอิงของ American Psychological Association (APA) รวมทั้งศึกษาตัวอย่างรูปแบบการเขียนจากเอกสารของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เพื่อทำให้คู่มือฉบับนี้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประกอบการเขียนวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา...

โหลดเอกสาร PDF ตาม Link นี้เลยค่ะ http://graduate.srru.ac.th/room53/detail.php?id=1
หมายเหตุ  ครูลองเช็ค Link วันนี้ (พุธที่ 31 ต.ค.55) - ใช้ไม่ได้
ก็เลย LOAD ข้อมูลเดิมที่เคย save ไว้ จากภาคเรียนที่ 1/2554  ขึ่้นทาง 2shared ให้โหลดได้ตามนี้ค่ะ 
1) คำอธิบายการทำคู่มือของบัณฑิตศึกษา http://www.2shared.com/document/N-HBm6GI/___.html
2) คู่มือวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์  http://www.2shared.com/document/LVZTOELP/thesis54.html

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

รูปแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย

รูปแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
  ในระดับปฐมวัยศึกษาจะมีการใช้ศัพท์บางคำที่แตกต่างจากระดับอื่น เช่น คำว่า การสอน จะใช้ว่า การจัดประสบการณ์และคำว่า รูปแบบการสอนในระดับปฐมวัยศึกษาจะใช้คำว่า รูปแบบการจัดประสบการณ์

ความหมายของรูปแบบการเรียนการสอน
 - การบรรยายรายละเอียดของวิธีการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างชัดเจน รายละเอียดของการจัดการเรียนรู้จะระบุการวางแผนการสอน การนำไปใช้ การประเมินการสอน รูปแบบการสอนจะเป็นเสมือนแบบพิมพ์เขียวสำหรับครูใช้เป็นแนวการสอนของตน (กรมวิชาการ. 2544 : หน้า 3)
      - คำอธิบายหรือรายละเอียดของวิธีการสอนหรือการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้  ตามหลักการ  แนวคิดทฤษฎี  ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมายเฉพาะที่กำหนดไว้  (พัชรี ผลโยธิน. 2548 : หน้า 7)
  - สภาพลักษณะของการเรียนการสอนที่ครอบคลุมองค์ประกอบซึ่งได้รับการจัดไว้อย่างเป็นระเบียบ ตามหลักปรัชญา ทฤษฎี หลักการ แนวคิด หรือความเชื่อต่าง ๆ ประกอบด้วยกระบวนการหรือขั้นตอนสำคัญในการเรียนการสอน รวมทั้งวิธีสอนและเทคนิคการสอนต่าง ๆ ที่สามารถช่วยให้สภาพการเรียนการสอนนั้นเป็นไปตามทฤษฎี หลักการหรือแนวคิดที่ยึดถือและได้รับการพิสูจน์ ทดสอบ หรือยอมรับว่ามีประสิทธิภาพ สามารถใช้เป็นแบบแผนในการเรียนการสอนให้บรรลุวัตถุประสงค์เฉพาะของรูปแบบนั้นๆ  (ทิศนา แขมมณี. 2547 : หน้า 221) 
    
 รูปแบบการสอนหรือรูปแบบการจัดประสบการณ์ หมายถึง แบบแผนการจัดประสบการณ์ที่มีกระบวนการที่วางไว้อย่างเป็นระเบียบ โดยมีการจัดองค์ประกอบในการจัดประสบการณ์ที่มี (1) ปรัชญา /ทฤษฎี / แนวคิดที่เป็นหลักการของรูปแบบ (2) จุดหมาย (3) การจัดกระบวนการเรียนรู้ และ (4) การประเมินผล เพื่อให้ผู้เรียนได้ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของรูปแบบการสอนนั้น ๆ

                 
รูปแบบการเรียนการสอนจำเป็นต้องมีองค์ประกอบ  ดังนี้
1) มีปรัชญา ทฤษฎี หลักการ แนวคิด หรือความเชื่อที่เป็นพื้นฐานหรือเป็นหลักของรูปแบบการสอนนั้นๆ 
2) มีการบรรยายและอธิบายสภาพหรือลักษณะของการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับหลักการที่ยึดถือ
3) มีหลักการจัดระบบ คือ มีการจัดองค์ประกอบและความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของระบบให้สามารถนำผู้เรียนไปสู่เป้าหมายของระบบหรือกระบวนการนั้นๆ
4) มีการอธิบายหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีสอนและเทคนิคการสอนต่าง ๆ อันจะช่วยให้กระบวนการเรียนการสอนนั้น ๆ เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เอกสารอ้างอิง
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบ
การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี
ประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พัชรี ผลโยธิน. (2548). รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย ใน ประมวลสาระ
ชุดวิชาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย. หน่วยที่ 4  (หน้า 15-32).   
นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.




ทฤษฎีการสอน หลักการสอน รูปแบบการสอน วิธีสอน เทคนิคการสอน และ ทักษะการสอน

สรุปสาระหลัก ดังนี้

ความหมายของทฤษฎีการสอน หลักการสอน รูปแบบการสอน วิธีสอน เทคนิคการสอน และ ทักษะการสอน

ทฤษฎีการสอน (Teaching Theory) คือ ข้อความรู้ที่พรรณนา / อธิบาย / ทำนาย ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทางการสอน ที่ได้รับการพิสูจน์ ทดสอบ และการยอมรับว่าเชื่อถือได้ ซึ่งนักจิตวิทยาหรือนักการศึกษาอาจพัฒนาหรือแปลงมาจากทฤษฎีการเรียนรู้ เพื่อนำไปใช้เป็นหลักในการจัดการเรียนการสอนให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ทฤษฎีการสอนหนึ่ง ๆ มักประกอบไปด้วยหลักการสอนย่อย ๆ หลายหลักการ

หลักการสอน (Teaching Principle) คือ ข้อความรู้ย่อย ๆ ที่พรรณนา / อธิบาย / ทำนาย ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทางการสอนที่ได้รับการพิสูจน์ ทดสอบ และการยอมรับว่าเชื่อถือได้ สามารถนำไปใช้ในการสอนผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด หลักการสอนหลาย ๆ หลักการ อาจนำไปสู่การสร้างเป็นทฤษฎีการสอนได้

รูปแบบการสอน / รูปแบบการเรียนการสอน (Teaching / Instructional Model) คือ แบบแผนการดำเนินการสอนที่ได้รับการจัดเป็นระบบ อย่างสัมพันธ์สอดคล้องกับทฤษฎี / หลักการเรียนรู้หรือการสอนที่รูปแบบนั้นยึดถือ และได้รับการพิสูจน์ ทดสอบว่ามีประสิทธิภาพ สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายเฉพาะของรูปแบบนั้น ๆ โดยทั่วไปแบบแผนการดำเนินการสอนดังกล่าว มักประกอบด้วย ทฤษฎี / หลักการที่รูปแบบนั้นยึดถือและกระบวนการสอนที่มีลักษณะเฉพาะอันจะนำผู้เรียนไปสู่จุดหมายเฉพาะที่รูปแบบนั้นกำหนด

วิธีสอน (Teaching Method) คือ ขั้นตอนที่ผู้สอนดำเนินการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ ด้วยวิธีการต่างๆ ที่แตกต่างกันไปตามองค์ประกอบและขั้นตอนสำคัญอันเป็นลักษณะเด่นหรือลักษณะเฉพาะที่ขาดไม่ได้ของวิธีนั้น ๆ

เทคนิคการสอน (Teaching Technique) คือ กลวิธีต่าง ๆ ที่ใช้เสริมกระบวนการสอน ขั้นตอนการสอน วิธีการสอน หรือ การดำเนินการทางการสอนใดๆ เพื่อช่วยให้การสอนมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น

ที่มา:
ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครัั้งที่ 13. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.




วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ครูต้นแบบการสอนภาษาอังกฤษ (ทั้งระดับเริ่มเรียนหรือปฐมวัย ระดับประถม และระดับมัธยม)

นักศึกษาที่ต้องการศึกษาวิธีการสอนภาษาอังกฤษ เข้าเว็บของสำนักเลขาธิการสภาการศึกษา Link: http://www.onec.go.th/index.php



พิมพ์คำค้นหาจากสิ่งพิมพ์ สกศ. “วิชาภาษาอังกฤษ” จะมีเอกสาร PDF ให้โหลดมาศึกษาได้ค่ะ 

NOTE: ครูลองเข้าเว็บนี้พิมพ์คำค้น "ครูต้นแบบ" และ "วิธีสอน" ก็จะมีเอกสารให้โหลดหลายเล่ม แต่ไม่พบ PDF หนังสือ "หลากหลายวิธีสอนของครูต้นแบบ 2541 วิชาภาษาอังกฤษ" ที่พิมพ์ออกมาในปี 2542
หนังสือเล่มนี้ เสนอวิธีสอนของครูต้นแบบการสอนภาษาอังกฤษ 6 ท่าน คือ
1. ครูกุศยา แสงเดช "การสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร"
2. ครูจรัสศรี คิวสุวรรณ "การสอนภาษาเพื่อสื่อสารตามธรรมชาติ (Whole Language)"
3. ครูฐิติมา สุคนธชาติ "10 Minutes For Student"
4. ครูประหยัด ฤาชากูล "การเรียนรู้แบบพึ่งตนเอง (Self-access learning)"
5. ครูสุรชัย บุญญานุสิทธิ์ "Content Based Instruction (CBI)"
6. ครูอารมณ์ มีชัย "การเรียนรู้ด้วยกระบวนการหมวก 3 ใบ 3CAPS" 

โหลดหนังสือเล่มนี้ ที่ 4SHARED ของครู Link: http://www.4shared.com/document/4qqK9nWv/ENG.html

(ตรวจ Link download  วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม 2559 - OK สามารถโหลดได้ค่ะ :) ) 

วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554

งานกลุ่ม / รายบุคคล วิชา 1071106 สุขภาพอนามัยสำหรับเด็กปฐมวัย

งานที่ 1: ส่งในชั้นเรียน

ทิศทางการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ของ สพฐ.

ทิศทางการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน



ที่มา: website สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
Link: http://www.curriculum51.net/viewpage.php?t_id=149

เอกสาร พัฒนาการเด็กปฐมวัย

เอกสารที่ควรศึกษาเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการ / ความสามารถ / หรือ สมรรถนะตามวัยของเด็กปฐมวัย

หนังสือ : สมรรถนะของเด็กปฐมวัยในการพัฒนาตามวัย 3-5 ปี

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (2552) ได้ระบุสมรรถนะของ

เด็กปฐมวัยในการพัฒนาตามวัย 3-5 ปี

ในหนังสือ “สมรรถนะของเด็กปฐมวัยในการพัฒนาตามวัย 3-5 ปี : แนวแนะสำหรับผู้ดูแลเด็ก ครู และอาจารย์”
Link สำรอง : http://www.4shared.com/document/CLP8aCE7/3-5_.html



และ หนังสือ “สมรรถนะของเด็กปฐมวัยในการพัฒนาตามวัย 3-5 ปี : แนวแนะสำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครอง”
Link สำรอง : http://www.4shared.com/document/ScPnfSI8/3-5_3-5.html


โดยแบ่งสมรรถนะด้านต่างๆ ของเด็กปฐมวัยไว้ 7 ส่วนหลัก (Domain) ได้แก่

1. การเคลื่อนไหว และสุขภาวะทางกาย (Motor Development /Physical Well – Being)

2. พัฒนาการด้านสังคม (Social Development)

3. พัฒนาการด้านอารมณ์ (Emotional Development)

4. พัฒนาการด้านการคิดและสติปัญญา (Cognitive Development)

5. พัฒนาการด้านภาษา (Language Development)

6. พัฒนาการด้านจริยธรรม (Moral Development

7. พัฒนาการด้านการสร้างสรรค์ (Creative Development)

ในแต่ละส่วนหลักประกอบด้วย ส่วนย่อย (Sub-domain) สมรรถนะด้านต่างๆ (Competency) และพฤติกรรมบ่งชี้ (Indicators) โดยจำแนกออกเป็นเนื้อหา (area) ด้านต่างๆ


และ เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัย
ผู้สนใจ สามารถเข้าไป load ได้ที่
เว็บของ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา 
สื่อสิ่งพิมพ์ "การศึกษาปฐมวัย" ค่ะ 
http://www.onec.go.th/index.php/book/BookGroup



ปีที่พิมพ์ : 2553
ISBN : 978-616-7324-56-2

เอกสารฉบับนี้ เป็นการวิจัยโครงการสมรรถนะของเด็กปฐมวัยในการพัฒนาตามวัย (อายุ 0-3 ปี) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับความสามารถแสดงออกถึงพฤติกรรมตามวัยของเด็กในด้านต่างๆ ว่าเด็กสามารถทำอะไรได้ (Can Do) ในแต่ละช่วงอายุ อายุต่ำกว่า 1 ปี 1 ปี และ 2 ปี ตัวชี้วัดเชิงพฤติกรรม 286 ข้อ ตัวชี้วัดเหล่านี้สามารถนำไปใช้เทียบเคียงกับพฤติกรรมของเด็กในแต่ละช่วงวัยได้ ในกรณีที่เด็กยังไม่สามารถแสดงพฤติกรรมตามวัยได้ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กควรมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกับเด็ก หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์ต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาเด็กต่อไป
กิตติกรรมประกาศ
ความนำ
ที่มาของสมรรถนะด้านต่างๆ และพฤติกรรมบ่งชี้
วิธีใช้เอกสารนี้
แนะแนวหลักในการปฏิบัติต่อลูกของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก สมรรถนะของเด็กด้านต่างๆ
ภาคผนวก




ตัวอย่าง ชื่อหนังสือ และงานวิจัยต่างๆ

 - นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กปฐมวัย (0-5ปี) ระยะยาว พ.ศ.2550-2559
 - รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สำหรับเด็กปฐมวัยอายุ 0-3 ปี ตามสมรรถนะของเด็กปฐมวัยในการพัฒนาตามวัย
 - หนังสือชุด "การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทย"
 - กระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม เด็กปฐมวัย
 - กระบวนการสร้างนิทานเพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย
 - รูปแบบการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในเด็กอายุ 3-4 ปี โดยพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก


ตัวอย่างหนังสือ ที่พิมพ์เผยแพร่ ปี  2556-2557
(update Link ใหม่ วันที่ 20 ก.พ.2560)


แนวทางการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย





ปีที่พิมพ์ : 2556
ISBN : -

เอกสาร แนวทางการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ฉบับนี้ ได้จัดทำขึ้นเพื่อประกอบการจัดนิทรรศการในโซน 3 การศึกษาเด็กปฐมวัย (Early Childhood Education Zone) ในงานประชุมสัมมนาทางวิชาการระหว่างประเทศ ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา เรื่องการศึกษาเพื่ออนาคตประเทศไทย ระหว่างวันที่ 23-24 มิถุนายน 2556 ซึ่งเป็นการประชุมสัมมนาทางวิชาการที่หลากหลาย มีนิทรรศการนำเสนอนวัตกรรมทางการศึกษาหลายรูปแบบ สำนักงานฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารฉบับนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้เกี่ยวข้องและสร้างเสริมให้การดูแลเด็กปฐมวัยเป็นไปได้อย่างมีคุณภาพ เกิดประโยชน์แก่เด็ก ผู้ปกครอง และผู้รับผิดชอบทุกฝ่ายต่อไป
สารบัญ
ความหมายของเด็กปฐมวัย
ความสำคัญของการพัฒนาเด็กปฐมวัย
การขับเคลื่อนการพัฒนาเด็กปฐมวัยเชิงนโยบาย
การนำนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัยสู่การปฏิบัติ
การเสวนาการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
Download :  http://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/1230-file.pdf


แนวทางการจัดกิจกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยรอบด้าน ตามวัย



ปีที่พิมพ์ : 2556
ISBN : -

เอกสาร แนวทางการจัดกิจกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยรอบด้าน ตามวัย ฉบับนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อประกอบการรจัดนิทรรศการโซน 3 การศึกษาเด็กปฐมวัย (Early Childhood Education Zone) ในวันที่ 23-25 มิถุนายน 2556 ซึ่งเป็นการประชุมสัมมนาทางวิชาการระหว่างประเทศ ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา เรื่อง การศึกษาเพื่ออนาคตประเทศไทย สำนักงานฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เอกสารฉบับนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและสร้างเสริมให้การดูแลเด็กปฐมวัยเป็นไปได้อย่างมีคุณภาพ เกิดประโยชน์แก่เด็ก ผู้ปกครอง และผู้รับผิดชอบทุกฝ่ายต่อไป
สารบัญ
หลักการ
จุดหมาย
พัฒนาการเด็กปฐมวัย 7 ด้าน
      1. พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวและสุขภาวะทางกาย
      2. พัฒนาการด้านสังคม
      3. พัฒนาการด้านอารมณ์
      4. พัฒนาการด้านการคิดและสติปัญญา
      5. พัฒนาการด้านภาษา
      6. พัฒนาการด้านจริยธรรม
      7. พัฒนาการด้านการสร้างสรรค์ 
http://www.onec.go.th/index.php/book/BookView/1231

Download เล่ม :  http://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/1231-file.pdf






บทวิเคราะห์และข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาแผนการจัดการประสบการณ์ปฐมวัยเพื่อบรรจุลงในคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) สำหรับเด็กปฐมวัย (3-5 ปี) ครู ผู้แลเด็ก และพ่อแม่ ผู้ปกครอง
2013-11-14 12:58:30
ปีที่พิมพ์ : 2556
ISBN : 978-616-270-055-2

เอกสารฉบับนี้ เป็นการวิเคราะห์สาระการเรียนรู้ แผนการจัดประสบการณ์ระดับชั้นอนุบาล โดยศึกษาเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อเตรียมการจัดทำเนื้อหาสาระบรรจุลงในคอมพิวเตอร์แบบพกพา (แท็บเล็ต) ให้กับเด็กปฐมวัย 3-5 ปี เพื่อเตรียมความพร้อมในขั้นต้นที่จะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา (แท็บเล็ต) เป็นสื่อการเรียนรู้ที่นอกเหนือจากตำรา สำนักงานฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เอกสารฉบับนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กปฐมวัยอย่างรอบด้านต่อไป



Download : http://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/1173-file.pdf




การดูแลและการศึกษาเด็กปฐมวัย





ปีที่พิมพ์ : 2556
ISBN : -

เอกสาร การดูแลและการศึกษาเด็กปฐมวัย จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่ ครั้งที่ 1 ในการประชุมสัมมนาทางวิชาการระหว่างประเทศ เรื่องการศึกษาเพื่ออนาคตประเทศไทย ระหว่างวันที่ 23-25 มิถุนายน 2556 โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการดูแลและการศึกษาเด็กปฐมวัยในประเทศไทยครอบคลุมตั้งแต่ความหมายและหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย ความสำคัญของการดูแลและพัฒนาเด็กปฐมวัย นโยบายรัฐบาลในการดูแลและจัดการศึกษาและพัฒนาเด็กปฐมวัย รวมถึงโครงการพัฒนาเด็กปฐมวัยที่ดำเนินการในประเทศไทย นอกจากนี้ ยังมีการนำเสนอข้อมูลตัวชี้วัดการศึกษาเพื่อปวงชน เป้าหมายที่ 1 การดูแลและการศึกษาเด็กปฐมวัย (EFA Goal1: Early Childhood Care and Education) สำนักงานฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารฉบับนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้เกี่ยวข้องและสร้างเสริมให้การดูแลเด็กปฐมวัยเป็นไปได้อย่างมีคุณภาพ เกิดประโยชน์แก่เด็ก ผู้ปกครอง และผู้รับผิดชอบทุกฝ่ายต่อไป
สารบัญ
ความหมายและหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย
ความสำคัญของการดูแลและพัฒนาเด็กปฐมวัย
สภาพการดำเนินงานพัฒนาเด็กปฐมวัยในประเทศไทย
หน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการจัดบริการเพื่อดูแลและพัฒนาเด็กปฐมวัย
การขับเคลื่อนการพัฒนาเด็กปฐมวัยเชิงนโยบาย
ข้อมูลเด็กปฐมวัย 0-5 ปี
โครงการพัฒนาเด็กปฐมวัยที่ดำเนินการในประเทศไทย
แนวทางการขับเคลื่อนงานต่อไป
ตัวชี้วัด เป้าหมายที่ 1 การดูแลและการศึกษาเด็กปฐมวัย

Download : http://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/1233-file.pdf


บทบาทของพ่อแม่ ครูพี่เลี้ยงและผู้ดูแลเด็กในการเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กปฐมวัย







ปีที่พิมพ์ : 2556
ISBN : -

เอกสาร บทบาทพ่อแ่ม่ ครูพี่เลี้ยง และผู้ดูแลเด็กในการเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กปฐมวัย ฉบับนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อประกอบการเสวนาในช่วงเวทีเสวนา เรื่องบทบาทพ่อแม่ ครูพี่เลี้ยงและผู้ดูแลเด็กในการเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน 2556 ในการประชุมสัมนาทางวิชาการระหว่างประเทศของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา สำนักงานฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารฉบับนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและสร้างเสริมให้การดูแลเด็กปฐมวัยเป็นไปได้อย่างมีคุณภาพ เกิดประโยชน์แก่เด็ก ผู้ปกครองและผู้รับผิดชอบต่อไป
สารบัญ
สภาวการณ์ของการศึกษาระดับปฐมวัย
หน่วยงานรับผิดชอบ
ข้อมูลจำนวนเด็กปฐมวัย
การดำเนินงานด้านเด็กปฐมวัยที่ควรให้ความสนใจ
Download : http://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/1232-file.pdf


ยัง

แนวแนะหลักในการปฏิบัติต่อลูกวัย 0-3 ปี ของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก




ปีที่พิมพ์ : 2554
ISBN : 

เอกสารฉบับนี้ได้ดำเนินการศึกษาวิจัย สมรรถนะของเด็กปฐมวัยในการพัฒนาตามวัย (อายุ 0-3 ปี) มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการแสดงออกของเด็กในด้านต่างๆ ว่าทำอะไรได้ในแต่ละวัย ขณะเดียวกัน พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก ต้องมีความรู้ เข้าใจเด็กและปฏิบัติต่อเด็กโดยมีหลักยึดเป็นแนวปฏิบัติของผู้ใหญ่ เพื่อส่งเสริมพัฒนาให้เด็กมีคุณภาพ และมีรากฐานที่มั่นคง เพื่อเป็นอนาคตของชาติสืบไป
เลี้ยงดูให้อยู่รอดและปลอดภัย
รักลูกอย่างไม่มีเงื่อนไข
เข้าใจว่าการเรียนรู้ของลูกเริ่มตั้งแต่การปฏิสนธิและการเรียนรู้เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปและต่อเนื่อง
พ่อแม่ต้องเข้าใจว่าในการเรียนรู้ทุกอย่างต้องให้ลูกมีส่วนร่วมในการแสดงออกและความคิดเห็น
ลูกเรียนรู้ผ่านการฟังพ่อแม่ ครูหรือผู้ดูแลเด็ก เรียนรู้ผ่านการเล่น ฟังนิทาน หรือมีผู้อ่านหนังสือให้ฟัง
พ่อแม่ ผู้ใหญ่ต้องฟังเด็ก ส่งเสริมให้เด็กถามและสังเกต ชวนสนทนา
พ่อแม่ต้องไม่กดดัน หรือเร่งลูก ให้ทำอะไรๆ หรือเร่งในการพัฒนา
ไม่ใช้วิธีบังคับฝืนใจ หรือก้าวร้าว ทำร้ายทารุณลูก
ลูกอยู่ได้อย่างมีความสุข ปลอดภัยเมื่อวางใจพ่อแม่
ลูกจะรู้จักความผิดชอบชั่วดีหรือจริยธรรม ลูกจะต้องมีโอกาสฝึกการมีวินัยในตนเอง
Download :  http://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/1014-file.pdf

แนวแนะหลักในการปฏิบัติต่อเด็กวัย 3-5 ปี ของผู้ดูแลเด็ก ครู และอาจารย์





พ์ปีที่พิมพ์ : 2554
ISBN : 

เอกสารแนวแนะหลักในการปฏิบัติต่อเด็กวัย 3-5 ปี ของผู้ดูแลเด็ก ครู และอาจารย์ เป็นแนวทาง เป็นหลักยึดให้กับผู้ทีอยู่กับเด็ก ทำงานกับเด็ก เพื่อเพิ่มความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการแสดงออกของเด็กในด้านต่างๆ ว่าทำอะไรได้ในแต่ละวัย ขณะเดียวกัน พ่อแม่ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก มีความรู้ เข้าใจเด็กและปฏิบัติต่อเด็กโดยมีหลักยึด เพื่อส่งเสริมพัฒนาให้เด็กมีคุณภาพ
รักเด็กเป็นที่ตั้ง
ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง
เข้าใจกระบวนการและการพัฒนาตามวัยของเด็กอย่างรอบด้าน
เข้าใจกระบวนการเรียนรู้ของเด็กในวัยนี้
มีจินตนาการและค้นหา หรือสร้างสื่อเรียนรู้
ที่ทำให้เด็กสนใจ สนุกและอยากรู้เพิ่มเติม
สนับสนุนเด็กให้แสดงความคิดเห็น ให้เด็กคิด ให้เด็กมีส่วนร่วม
 เป็นแบบอย่างที่ดี ไม่ตี ไม่เฆี่ยนเด็ก ไม่ก้าวร้าว ทำร้ายทารุณ 
และไม่ละเมิดทางกาย ทางเพศ ทางวาจากับเด็ก
 ชี้ชวนเด็กให้รู้จักตนเองและสิ่งแวดล้อมรอบตัว
 เข้าใจเรื่องความแตกต่างระหว่างเด็ก
 สังเกตเด็กและพฤติกรรมเด็กอย่างต่อเนื่อง
 สัมพันธ์และสร้างเครือข่ายกับพ่อแม่ ผู้ปกครอง และผู้คนในชุมชน
 คำนึง "ประโยชน์สูงสุด" ที่จะตกอยู่กับเด็กเป็นสำคัญ

แนวแนะหลักในการปฏิบัติต่อลูกวัย 3-5 ปี ของพ่อแม่ ผู้ปกครอง







พ์ปีที่พิมพ์ : 2554
ISBN : 

เอกสารสมรรถนะของเด็กปฐมวัยในการพัฒนาตามวัย (3-5 ปี) เป็นการศึกษาวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการแสดงออกของเด็กในด้านต่างๆ ว่าทำอะไรได้ในแต่ละวัย และในขณะเดียวกันพ่อแม่ ผู้ปกครอง มีความรู้เข้าใจเด็กและปฏิบัติต่อเด็ก โดยมีหลักยึดเพื่อส่งเสริมพัฒนาเด็กให้มีคุณภาพ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เอกสารฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการวางรากฐานอันมั่นคงให้กับเด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นอนาคตของชาติต่อไป
รักลูกอย่างไม่มีเงื่อนไข
 เข้าใจว่าการเรียนรู้ของลูกเริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิ และการเรียนรู้
เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปและต่อเนื่อง

ในปฐมวัยนี้ พ่อแม่ต้องเข้าใจว่าในการเรียนรู้ทุกอย่าง
ต้องให้ลูกมีส่วนร่วม และมีส่วนแสดงความคิดเห็น
 ลูกเรียนรู้ผ่านการพูดคุยกับเพื่อน กับพ่อแม่ กับครูหรือผู้ดูแลเด็ก
และกับผู้ใหญ่อื่นๆ เรียนรู้ผ่านการเล่น การฟังนิทานฯ
 ความสำคัญของการฟัง การถาม และการสังเกต
 เข้าใจว่าการมีความรู้สึกผิดชอบชั่วดี หรือจริยธรรมของลูกตั้งต้น
ด้วยการมีวินัยในตนเอง
 พ่อแม่ต้องไม่กดดัน หรือเร่งลูกให้ทำอะไรๆ หรือเร่งลูกในการพัฒนา
 ไม่ใช้วิธีบังคับฝืนใจ หรือก้าวร้าว หรือทำร้ายทารุณลูก
 ลูกอยู่ได้อย่างมีความสุขเมื่อวางใจพ่อแม่ได้ รู้สึกปลอดภัยทางกาย
ทางจิตใจ ทางสังคม และอารมณ์
 ให้ลูกมีโอกาสเรียนรู้ สัมผัส และสนใจสังเกตตัวเอง
 รวมทั้งสิ่งแวดล้อมรอบตัว ทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต
เข้าใจเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก
 ยึดหลัก "ประโยชน์สูงสุดสำหรับเด็ก" เป็นสำคัญไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น

รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สำหรับเด็กปฐมวัยอายุ 0-3 ปี ตามสมรรถนะของเด็กปฐมวัยในการพัฒนาตามวัย





ปีที่พิมพ์ : 2552
ISBN : 

เอกสารฉบับนี้นำเสนอการวิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามสมรรถนะของเด็กปฐมวัย อายุ 0-3 ปี ในการพัฒนาตามวัย เพื่อนำเสนอรูปแบบกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมเพื่อเป็นแนวทางในการเลี้ยงดูเด็ก ในช่วงอายุ 0-3 ปีแรกของชีวิต โดยหวังว่าแนวความคิดและตัวอย่างนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเลี้ยงดูเด็กอายุ 0-3 ปีทุกคน
คำนำ
วัยแรกเกิด - 1 เดือน "แรกเริ่มลืมตา"
เดือนที่ 2 ของชีวิต “เริ่มรู้จักโลกใบใหม่”
เดือนที่ 3 “เล่นกับหนูหน่อยนะ”
วัย 4-6 เดือน “พลิกคว่ำหงายใกล้จะนั่ง”
วัย 7-9 เดือน “อยากรู้อยากเห็น”
วัย 10-12 เดือน “ตั้งไข่ล้ม ต้มไข่กิน หนูจะยืนแล้วจ้ะ”
วัย 13-15 เดือน “สนุกกับการหัดเดิน”
วัย 16-18 เดือน “นักสำรวจตัวน้อย นักทดสอบตัวจ้อย”
วัย 19-24 เดือน “ชักจะรู้ภาษาแล้วนะ”
วัย 25-36 เดือน “หนูอยากเป็นตัวของตัวเอง”
เรียนรู้รอบด้านจากการอ่านกับพ่อแม่
เล่นอย่างไรให้เด็กเกิดการเรียนรู้


รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สำหรับเด็กปฐมวัยอายุ 3-5 ปี ตามสมรรถนะของเด็กปฐมวัยในการพัฒนาตามวัย





ปีที่พิมพ์ : 2552
ISBN : 

เอกสารฉบับนี้นำเสนอการวิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามสมรรถนะของเด็กปฐมวัย อายุ 3-5 ปี ในการพัฒนาตามวัย เพื่อนำเสนอรูปแบบกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมเพื่อเป็นแนวทางในการเลี้ยงดูเด็ก ในช่วงอายุ 3-5 ปีแรกของชีวิต โดยมุ่งเน้นกระบวนการในการพัฒนาเด็กอย่างเป็นองค์รวม ทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สติปัญญา และสังคมของเด็ก
คำนำ
บทนำ
การเตรียมความพร้อมของเด็กอายุ 3-5 ปี ในการเริ่มชีวิต “วัยอนุบาล” มีอะไรบ้าง
เด็กอายุ 3 ปี ถามได้ถามดี
เด็กอายุ 4 ปี เรื่อง เล่น เล่น ก็เป็นการเรียนรู้
เด็กอายุ 5 ปี “มีเพื่อน..มีสังคม”
เรียนรู้รองด้าน
เกมสนุก สนุก หนูชอบ

มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ

มาตรฐาน สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ  และ คู่มือมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ   ... เป็นแนวทางการดำเนินงาน สำหรับหน่วยงานที่มีภารกิจ...