การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย

การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย
หลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยเป็นหลักสูตรของสถานศึกษาที่เปิดสอนระดับปฐมวัยแต่ละแห่ง กำหนดแนวทางการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนา บรรลุตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตัวบ่งชี้และสภาพที่พึงประสงค์ตามที่หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ กำหนด ทั้งนี้ สถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยสามารถออกแบบการจัดประสบการณ์ได้หลากหลาย ตามแนวคิดทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาปฐมวัย โดยต้องคำนึงถึงความสอดคล้องตามหลักการในหลักสูตรฯ  ตลอดจนคำนึงถึงสภาพบริบทและความต้องการของชุมชน มีแนวทางการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยตามแผนภาพ ดังนี้

ภาพที่ ๑          แผนภาพแสดงขั้นตอนการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย
                    (กระทรวงศึกษาธิการ. ๒๕๖๑: ๔๓)


ขั้นตอนการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย
หลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยจะต้องสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ และปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับธรรมชาติและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ควรดำเนินการ ตามขั้นตอน ดังนี้
. สร้างความเข้าใจในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ และคู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ให้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้บริหาร ครูผู้สอน ผู้ปกครอง ชุมชน โดยประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ และคู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ทั้งนี้ เพื่อให้เห็นความสำคัญ ความจำเป็นที่ต้องร่วมมือกันจัดทำและบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษา
. ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสภาพตัวเด็ก ครอบครัว ความต้องการ ปัญหา จุดเด่น จุดด้อย ตลอดจนนโยบาย จุดเน้น วิสัยทัศน์ อัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของสถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยด้วยวิธีการต่างๆ เช่น จัดประชุมหรือศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาหรือแผนกลยุทธ์ของสถานศึกษา ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับเด็ก ผู้ปกครอง และชุมชน ฯลฯ
. จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย โดยมีข้อเสนอแนะเป็นแนวทางการจัดทำ ดังนี้
.๑ แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ประกอบด้วย คณะบุคคล
ดังตัวอย่างต่อไปนี้
..๑ คณะกรรมการที่ปรึกษา ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบงานปฐมวัย ผู้ทรงคุณวุฒิ หรืออื่นๆ ตามความเหมาะสม
                                ๓..๒ คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและวิชาการ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานปฐมวัย ครูผู้สอนปฐมวัย ตัวแทนครู ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ตัวแทนผู้ปกครอง ตัวแทนชุมชน หรือ อื่นๆ ตามความเหมาะสม
                    ๓.๒ คณะกรรมการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ศึกษาทำความเข้าใจเอกสารที่เกี่ยวข้องต่างๆได้แก่ หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช ๒๕๖๐ และเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวบรวมข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัจจุบัน ความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น ตลอดจนนโยบาย จุดเน้น วิสัยทัศน์ อัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของสถานศึกษา ตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
.๓ ดำเนินการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ตามองค์ประกอบดังนี้
..๑ ปรัชญาการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษา
..๒ วิสัยทัศน์ ภารกิจ หรือพันธกิจ เป้าหมาย
..๓ จุดหมาย
..๔ มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์
..๕ การจัดเวลาเรียน
..๖ สาระการเรียนรู้รายปี
..๗ การจัดประสบการณ์
..๘ การจัดสภาพแวดล้อม สื่อ และแหล่งเรียนรู้
..๙ การประเมินพัฒนาการ
..๑๐ การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย
..๑๑ การเชื่อมต่อของการศึกษาระดับปฐมวัยกับระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
..๑๒ ภาคผนวก
          . ประเมินตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย เมื่อสถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยดำเนินการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยเรียบร้อยแล้ว ควรกำหนดให้มีการประเมินตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยก่อนนำไปใช้ โดยอาศัยความคิดเห็นจากผู้ใช้หลักสูตร ผู้มีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตร ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาปฐมวัย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ ตรวจสอบองค์ประกอบของหลักสูตรว่าครบถ้วน ชัดเจน สอดคล้อง และมีคุณภาพมากน้อยเพียงใด สนองความต้องการของสถานศึกษาโดยแท้จริงหรือไม่ มีความเป็นไปได้ ทันเวลาในการนำไปใช้หรือไม่ มีจุดอ่อนหรือข้อบกพร่องอย่างไร เพื่อตรวจสอบว่าสามารถนำไปใช้ได้ดี หรือควรปรับปรุงแก้ไขเรื่องใด โดยวิธีสนทนากลุ่มหรือใช้เครื่องมือในการตรวจสอบ เพื่อให้หลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยมีความเหมาะสมและมีคุณภาพ
          . ขออนุมัติการใช้หลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช .... โดยผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือคณะกรรมการอำนวยการโรงเรียน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับหน่วยงานต้นสังกัด
. ประกาศใช้หลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช .... เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้สอนปฐมวัย ผู้ปกครอง ชุมชน รับทราบและดำเนินการตามบทบาทของตนต่อไป
. นำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยไปใช้ โดยบุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้สอนนำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยไปใช้ในการวางแผนและออกแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาเด็กให้บรรลุตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ผู้บริหารสถานศึกษาสนับสนุน ส่งเสริม นิเทศ ติดตาม และประเมินผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

การจัดทำองค์ประกอบหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย
. ปรัชญาการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษา
ปรัชญาการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษา เป็นการอธิบายแนวคิด ทฤษฎี และความเชื่อในการพัฒนาเด็กปฐมวัย สถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยจำเป็นต้องกำหนดปรัชญาการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องยึดเป็นอุดมการณ์หรือเป็นหลักการในการจัดการศึกษาปฐมวัย
การกำหนดปรัชญาการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษา ควรเริ่มจากการพิจารณาร่วมกันของ ผู้ที่เกี่ยวข้องสถานศึกษามีความเชื่อว่าเด็กปฐมวัยเรียนรู้อย่างไร ผู้บริหาร ครู ครอบครัว ชุมชน เห็นความสำคัญร่วมกันในการจัดการศึกษาและการพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างไร ครูมีบทบาทอย่างไร ในการพัฒนาเด็กปฐมวัย เพื่อจะนำไปสู่การกำหนดปรัชญาการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษา

. วิสัยทัศน์ ภารกิจหรือพันธกิจ เป้าหมาย
.๑ วิสัยทัศน์ สถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยจำเป็นต้องกำหนดวิสัยทัศน์ของการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย ซึ่งเป็นการแสดงเจตนารมณ์ อุดมการณ์ อนาคตที่พึงประสงค์ ที่อยู่บนพื้นฐานความจริงและแสดงอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ของสถานศึกษา เพื่อสร้างศรัทธาและจุดประกายความคิดให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องเกิดความมุ่งมั่นในการพัฒนาเด็ก ทั้งนี้ การกำหนดวิสัยทัศน์ ควรเป็นการกำหนดเจตนารมณ์ร่วมกันระหว่างบุคลากรในสถานศึกษา พ่อแม่  ผู้ปกครอง รวมทั้ง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เด็กจะได้รับการพัฒนาคุณลักษณะสำคัญใดเป็นพิเศษ ที่สะท้อนให้เห็นตามวิสัยทัศน์ของสถานศึกษา เช่น คนดี สถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยหมายถึงคนดีลักษณะใด มีวินัยลักษะใด เพื่อนำไปสู่การเขียน ภารกิจหรือพันธกิจ และเป้าหมายที่ชัดเจน และใครมีส่วนร่วมในการพัฒนา โดยต้องสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ วิสัยทัศน์ที่ดีต้องมีความชัดเจน เหมาะสม และมีระยะเวลาที่แน่นอนจะเกิดขึ้นภายในปีการศึกษาใด
.๒ ภารกิจหรือพันธกิจ สถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยจำเป็นต้องกำหนดภาระงานที่สำคัญ ทั้งนี้ การกำหนดภารกิจหรือพันธกิจของสถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยต้องคำนึงถึงวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ว่าจะต้องทำอย่างไร จึงจะทำให้วิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้เป็นจริงตามกำหนดเวลานั้นๆ หรือวิธีดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ในระยะเวลาที่แน่นอน การกำหนดภารกิจหรือพันธกิจของสถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยควรคำนึงถึงการมุ่งพัฒนาเด็กให้มีคุณลักษณะตามที่หลักสูตรกำหนดไว้ ในขณะเดียวกันผู้สอนต้องมีคุณภาพ ทำให้ผู้ปกครองมามีส่วนร่วมพัฒนาเด็กในทิศทางเดียวกัน
          .๓ เป้าหมาย เป็นการกำหนดความคาดหวังที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานตามพันธกิจ สามารถกำหนดได้ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพของเด็กปฐมวัย ผู้สอน และบุคลากร การจัดทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัย

. จุดหมาย
เป็นการกำหนดความคาดหวังที่จะเกิดกับเด็กหลังจากจบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยแล้วโดยนำจุดหมายของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มากำหนดเป็นจุดหมายของหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย

. มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์
สถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยนำมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตัวบ่งชี้ และสภาพที่พึงประสงค์ของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ทุกมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทุกตัวบ่งชี้ และทุกสภาพที่พึงประสงค์ มากำหนดเป็นมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตัวบ่งชี้ และสภาพที่พึงประสงค์ของหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย และสามารถเพิ่มเติมตัวบ่งชี้และสภาพที่พึงประสงค์ที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของสถานศึกษาตามความเหมาะสมได้

. การจัดเวลาเรียน
สถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยต้องกำหนดกรอบโครงสร้างเวลาในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก ๑ - ๓ ปีการศึกษาโดยประมาณ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอายุของเด็กที่เริ่มเข้าสถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย เวลาเรียนสำหรับเด็กปฐมวัยขึ้นอยู่กับสถานศึกษาแต่ละแห่ง โดยมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า ๑๘๐ วันต่อปีการศึกษา อาจแบ่งเป็น ๒ ภาคเรียน หรือ ๓ ภาคเรียน ใน ๑ ปีการศึกษา และแต่ละวันต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า ๕ ชั่วโมง โดยสามารถปรับให้เหมาะสมตามบริบทของสถานศึกษาและสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย

. สาระการเรียนรู้รายปี
สถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยต้องกำหนดสาระการเรียนรู้รายปี โดยยึดมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตัวบ่งชี้ สภาพที่พึงประสงค์ ประสบการณ์สำคัญ และสาระที่ควรเรียนรู้ ให้ครบทั้ง ๑๒ มาตรฐาน ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรสถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย และครอบคลุมทุกช่วงอายุหรือช่วงชั้นปีที่จัดการศึกษา และอาจเพิ่มเติมสาระที่ควรเรียนรู้ได้ตามอัตลักษณ์ หรือเอกลักษณ์ของสถานศึกษา ทั้งนี้ สถานศึกษาสามารถออกแบบวิธีการนำเสนอการวิเคราะห์สาระการเรียนรู้รายปีในรูปแบบตารางที่หลากหลาย โดยอาจนำชื่อหน่วยการจัดประสบการณ์/โครงการ มาระบุเชื่อมต่อให้สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ได้ โดยคำนึงถึงความสอดคล้องของทุกองค์ประกอบ วิธีการวิเคราะห์สาระการเรียนรู้รายปี มีแนวทาง ดังนี้

คำอธิบายการวิเคราะห์สาระการเรียนรู้รายปี

ภาพที่ ๒         คำอธิบายการวิเคราะห์สาระการเรียนรู้รายปี
                    (กระทรวงศึกษาธิการ. ๒๕๖๑: ๔๙)

ข้อสังเกต เนื่องจากหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ กำหนดจุดหมายไว้แล้ว สถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยต้องใช้ตาม แต่สามารถเพิ่มตัวบ่งชี้และสภาพที่พึงประสงค์จากที่หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ กำหนดได้



ตัวอย่างการวิเคราะห์สาระการเรียนรู้รายปี
















อ้างอิง : 
กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๖๑). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ สำหรับเด็กอายุ ๓ - ๖ ปี.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ

มาตรฐาน สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ  และ คู่มือมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ   ... เป็นแนวทางการดำเนินงาน สำหรับหน่วยงานที่มีภารกิจ...