การเขียนแผนฯ ปฐมวัย [ตามแนวหลักสูตรฯ ๒๕๖๐]

การจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ระดับชั้นปฐมวัย 
[ตามแนวหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. ๒๕๖๐]



การจัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ระดับชั้นปฐมวัย

ขั้นตอนการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์


การจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ให้บรรลุจุดหมายของหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ผู้สอนควรดำเนินตามขั้นตอน ต่อไปนี้

1. ศึกษาทำความเข้าใจหลักสูตรสถานศึกษา ควรศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยอย่างละเอียดจนเกิดความเข้าใจว่าจะต้องพัฒนาเด็กอย่างไร เพื่อให้บรรลุตามจุดหมายที่กำหนดไว้ การศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยช่วยให้ผู้สอนสามารถออกแบบการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย นอกจากนี้ ควรศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมเพื่อให้มีความเข้าใจยิ่งขึ้น เช่น คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ข้อมูลพัฒนาการเด็ก เป็นต้น

2. ออกแบบการจัดประสบการณ์ ผู้สอนควรออกแบบการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ในกรณีที่สถานศึกษากำหนดรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบหน่วยการจัดประสบการณ์ ผู้สอนต้องกำหนดหัวเรื่องเพื่อใช้เป็นแกนกลางในการจัดประสบการณ์และกำหนดรายละเอียดของหน่วยการจัดประสบการณ์ โดยนำมาจากการวิเคราะห์สาระการเรียนรู้รายปีในหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ดังนี้

     2.1 กำหนดหัวเรื่องหรือชื่อหน่วยการจัดประสบการณ์ การกำหนดหัวเรื่องเพื่อใช้ในการจัดประสบการณ์ พิจารณาจากสาระที่ควรเรียนรู้ ซึ่งระบุไว้ในการวิเคราะห์สาระการเรียนรู้รายปี
ในหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย หัวเรื่องที่กำหนดควรมีลักษณะ ดังนี้
        - เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็ก
        - ตรงตามความต้องการและความสนใจของเด็ก
        - สอดคล้องกับสภาพและบริบทในการดำเนินชีวิตประจำวันของเด็ก
        - บูรณาการสาระการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม
        - ผนวกคุณธรรมและจริยธรรมเข้าไปได้อย่างผสมกลมกลืน

    การกำหนดหัวเรื่องสามารถทำได้ 3 วิธี ดังนี้
        วิธีที่ 1 ผู้สอนเป็นผู้กำหนด ผู้สอนจะเป็นผู้กำหนดหน่วยการจัดประสบการณ์ โดยพิจารณาจากสาระการเรียนรู้ในหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยและความสนใจของเด็ก
        วิธีที่ 2 ผู้สอนและเด็กร่วมกันกำหนด ผู้สอนจะกระตุ้นให้เด็กแสดงความคิดเห็นแล้วนำเรื่องที่สนใจมากำหนดเป็นหน่วยการจัดประสบการณ์
        วิธีที่ 3 เด็กเป็นผู้กำหนด ผู้สอนจะเปิดโอกาสให้เด็กเป็นผู้กำหนดหัวเรื่องได้ตามความสนใจของเด็ก
    
    ผู้สอนสามารถนำหัวเรื่องหน่วยการจัดประสบการณ์ที่กำหนดไว้มาจัดทำเป็นกำหนดการจัดประสบการณ์ประจำปีการศึกษา โดยคำนึงถึงฤดูกาล แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เทศกาล ประเพณี และวันสำคัญต่างๆ เพื่อเป็นการเตรียมว่าจะจัดประสบการณ์หัวเรื่องใดในช่วงเวลาใด ให้ครบตามเวลาเรียนที่กำหนดในหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ทั้งนี้ ผู้สอนควรจัดเตรียมให้มีช่วงเวลาสำหรับจัดประสบการณ์ตามความสนใจของเด็ก และตระหนักว่าสามารถเปลี่ยนแปลงหรือยืดหยุ่นกำหนดการจัดประสบการณ์ได้ตามความสนใจของเด็ก

    2.2 กำหนดรายละเอียดของหน่วยการจัดประสบการณ์ ผู้สอนควรกำหนดรายละเอียดของหน่วยการจัดประสบการณ์ ประกอบด้วย มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตัวบ่งชี้ สภาพที่พึงประสงค์ จุดประสงค์การเรียนรู้ และสาระการเรียนรู้ทั้งประสบการณ์สำคัญและสาระที่ควรเรียนรู้ ให้สัมพันธ์กันทุกองค์ประกอบ โดยนำมาจากการวิเคราะห์สาระการเรียนรู้ในหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ซึ่งอาจยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสมกับหัวเรื่องหรือชื่อหน่วยการจัดประสบการณ์ พร้อมทั้งกำหนดเวลาเรียนของแต่ละหน่วยการจัดประสบการณ์ 1 - 2 สัปดาห์ ตามความเหมาะสมกับสาระการเรียนรู้ของหน่วยการจัดประสบการณ์
รายละเอียดของหน่วยการจัดประสบการณ์ : (1) มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตัวบ่งชี้ สภาพที่พึงประสงค์  (2) จุดประสงค์การเรียนรู้    [ ผู้สอนสามารถพิจารณาจากสภาพที่พึงประสงค์ > ปรับเป็นจุดประสงค์การเรียนรู้  สามารถกำหนดให้สัมพันธ์กับสาระที่ควรเรียนรู้ของหน่วยฯ หรือ ปรับให้สอดคล้องกับความสามารถในขณะนั้นของเด็ก หรือกำหนดตามสภาพที่พึงประสงค์ โดยพิจารณาจากความสามารถของเด็กที่ผู้สอนรับผิดชอบเป็นหลัก  - การกำหนดจำนวนจุดประสงค์การเรียนรู้ไม่ควรมากเกินไป เพื่อให้สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง = เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ]  (3) สาระการเรียนรู้ ประกอบด้วย ประสบการณ์สำคัญ และ สาระที่ควรเรียนรู้

การกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้
    - พิจารณาจากตัวบ่งชี้ หรือสภาพที่พึงประสงค์
    - กำหนดให้สัมพันธ์กับสาระการเรียนรู้ของหน่วย
    - พิจารณาความสามารถของเด็กในขณะนั้น
    - ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
    - จำนวนเหมาะสม สามารถปฏิบัติได้จริง

การกำหนดประสบการณ์สำคัญ
    - คัดเลือกจากหลักสูตรสถานศึกษา
    - สัมพันธ์กับสาระที่ควรเรียนรู้ของหน่วย
    - ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน

การกำหนดสาระที่ควรเรียนรู้
    - คัดเลือกจากหลักสูตรสถานศึกษา
    - กำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมให้สัมพันธ์กับหน่วย (แนวคิด เนื้อหา ทักษะ หรือเจตคติ)
    - คำนึงถึงสิ่งที่เด็กรู้แล้ว สิ่งที่เด็กต้องการรู้ และสิ่งที่เด็กควรรู้
    - ระดับความยากง่ายเหมาะสมกับวัย และ สิ่งแวดล้อมในชีวิตจริงของเด็ก

    เมื่อกำหนดครบทุกหน่วยแล้ว ต้องครบถ้วนตามหลักสูตรสถานศึกษา


ส่วนประกอบของแผนการจัดประสบการณ์

ส่วนประกอบของแผนการจัดประสบการณ์ที่สำคัญ มีอะไรบ้าง
หัวข้อสำคัญที่ควรมีในแผนการจัดประสบการณ์ มีดังนี้
1) ชื่อหน่วยการจัดประสบการณ์ ระบุชื่อหัวเรื่องที่ใช้ในการจัดประสบการณ์ จากหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยที่กำหนดไว้แล้ว หรือยืดหยุ่นปรับตามความสนใจของเด็ก
          จุดประสงค์ทั่วไป (บางแผนไม่มี) ระบุเป้าหมายพฤติกรรมที่ต้องการให้เด็กเกิด เมื่อเด็กทำกิจกรรมครบตามระยะเวลาที่ผู้สอนวางแผนไว้ ทั้งนี้ควรอยู่บนพื้นฐานพัฒนาการเด็กและจุดหมายที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย/สถานศึกษาปฐมวัย
2) วันที่และเวลา   ระบุวันที่ทำการสอน   และระบุเวลาตามตารางกิจกรรมประจำวัน
3) สาระสำคัญ / ความคิดรวบยอด เป็นข้อสรุปหรือความคิดครั้งสุดท้ายที่เกิดแก่ผู้เรียน ควรเขียนในลักษณะที่สั้น กระชับ เป็นสาระหรือแก่นแท้ของเนื้อหาที่ต้องการให้ผู้เรียนได้รับ/เรียนรู้ โดยใช้วิธีเขียนในลักษณะที่สั้น-ง่าย-ใจความเดียว โดยเขียนให้สัมพันธ์กับจุดประสงค์และเนื้อหา หรือเขียนแบบ 3ค. คือ-ควร-คุณค่า
         สาระสำคัญ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1. นิยามความหมาย หรือความคิดรวบยอด  2. หลักการ ทฤษฎี กฎ  3. สัจพจน์ คติพจน์ (สุภาษิตสอนใจ)
ตัวอย่างการเขียนสาระสำคัญให้สัมพันธ์กับจุดประสงค์การเรียนรู้และเนื้อหา เรื่อง “…………”

จุดประสงค์
(พฤติกรรมการเรียนรู้)
เนื้อหา
สาระสำคัญแบบ 3 ค.
1. บอกส่วนประกอบของ “……………”ได้
1. ส่วนประกอบของ “…………”
“………..…”  มีส่วนประกอบ ได้แก่  .............................
2. อธิบายขั้นตอน / หลักการทำงาน และการดูแลรักษา“…………” ได้อย่างถูกต้อง
2. ขั้นตอน / หลักการทำงานและ
การดูแลรักษา “…………”
ควรมีความรู้ ความเข้าใจขั้นตอน / หลักการทำงานและการดูแลรักษา “…………”
3. บรรยายประโยชน์ของ
  “…………” ได้
3. ประโยชน์ของ “…………”
“…………” เป็นสิ่งที่มีประโยชน์  ถ้ารู้จักใช้อย่างเหมาะสม จะเป็นประโยชน์มีคุณค่า และทำให้มีความสุข

          4) ชื่อกิจกรรม ระบุชื่อกิจกรรมตามตารางกิจกรรมประจำวัน (แต่ละหน่วยงานอาจเรียกต่างกัน) เช่น กิจกรรมเสริมประสบการณ์
          5) จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม / ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ระบุเป้าหมายพฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดกับเด็ก เมื่อทำกิจกรรมในหน่วยแล้ว และควรอยู่บนพื้นฐานพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
               จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม คือ  สิ่งที่มุ่งหวังหรือเป้าหมายที่จะให้เกิดกับผู้เรียนหลังจากที่ได้เรียนตามแผนการจัดการเรียนรู้นั้น อยู่บนพื้นฐานพัฒนาการเด็ก ควรเขียนระบุพฤติกรรมให้ชัดเจน สั้นและเข้าใจง่าย ทำให้กำหนดกิจกรรมและวัดผลได้
               การเขียนต้องครอบคลุมพฤติกรรมทั้งความรู้ (K) ทักษะ (P) เจตคติ (A) หรือครอบคลุมพัฒนาการของผู้เรียนตามมาตรฐานและประสบการณ์สำคัญ นอกจากนี้การเขียนต้องครอบคลุมองค์ประกอบของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ได้แก่ สถานการณ์ พฤติกรรม และเกณฑ์
          6) สาระการเรียนรู้ ประกอบด้วยประสบการณ์สำคัญและสาระที่ควรรู้ เป็นสาระที่ถูกกำหนดไว้
ในหลักสูตรของสถานศึกษาที่บุคลากรสถานศึกษาร่วมกันจัดทำ เป็นประสบการณ์สำคัญที่คาดว่าจะได้ใช้ในการเรียนสาระและถูกกำหนดไว้แล้วในหลักสูตรของสถานศึกษาที่บุคลากรสถานศึกษาร่วมกันจัดทำ   เช่น หน่วยอาหารดีมีประโยชน์ ครูให้เด็กเรียนรู้โดยผ่านประสบการณ์การทำอาหาร (การวางแผน ตัดสินใจเลือก และลงมือปฏิบัติ)
          7) วิธีดำเนินกิจกรรม ระบุกิจกรรมเป็นขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนจบ โดยคำนึงถึงวัย พัฒนาการ ช่วงความสนใจของเด็กและจุดประสงค์ที่ต้องการ (รายละเอียดของของขั้นตอน สามารถใช้ตามรูปแบบเทคนิควิธีการสอน/การจัดประสบการณ์ ที่ครูนำมาใช้ดำเนินกิจกรรม เช่น การจัดประสบการณ์โดยการเล่านิทาน การจัดประสบการณ์โดยใช้การไปทัศนศึกษา การจัดประสบการณ์โดยใช้ศูนย์การเรียน เป็นต้น)
          8) สื่อ ระบุสื่อที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรม ควรเริ่มจากของจริง ของจำลอง รูปภาพ ฯลฯ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของเด็กเป็นสำคัญ  [สื่อ หมายถึง         วัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอน สื่อ บุคคล แหล่งการเรียนรู้ เทคนิควิธีที่ครูและผู้เรียนใช้ในกิจกรรม ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ     ประเภทของสื่อ :  สื่อบุคคล วัสดุอุปกรณ์ เทคนิควิธีการ (กระบวนการ)     ประเภทของแหล่งการเรียนรู้ :  แหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ และแหล่งการเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้น      - แหล่งการเรียนรู้ภายในสถานศึกษา  (ใน-นอกอาคารเรียน) เช่น  ห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องวัฒนธรรมไทย สวนสมุนไพร สวนวรรณคดี สวนสุขภาพ สวนธรรม         - แหล่งการเรียนรู้ภายนอกสถานศึกษา 1) แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นธรรมชาติ 2) มนุษย์สร้างขึ้น  3) ภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีการดำรงชีวิต เช่น แม่น้ำ ลำธาร / ร้านค้า วัด โบสถ์ สุเหร่า มัสยิด สถานที่ราชการ / ผู้รู้ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำทางศาสนา ขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเชื่อ เป็นต้น]
          9) การประเมิน ระบุวิธีการประเมินและสิ่ง/พฤติกรรมที่ประเมิน ซึ่งวิธีการประเมินสำหรับเด็กปฐมวัยมีหลายวิธี วิธีที่เหมาะสม คือ การสังเกต การสนทนา ฯ อาจเขียนให้ครอบคลุมถึงเครื่องมือประเมินผล เกณฑ์การวัดและการประเมินด้วย
10) บันทึกหลังสอน ระบุผลการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้น (เด็ก/ครู) และปัญหาการจัดการในชั้นเรียน พร้อมแนวทางการพัฒนา/ปรับปรุง 



ตัวอย่างการตรวจสอบเครื่องมือประเมินผล

หน่วยที่ 1: ตัวเรา ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 อายุ 5 ปี
สัปดาห์
หน่วย

การจัด

ประสบการณ์
สาระการเรียนรู้
เครื่องมือ
ประเมินผล
มาตรฐาน
คุณลักษณะ
ที่พึงประสงค์
สาระที่ควร
เรียนรู้
ประสบการณ์สำคัญ
    1
     ตัวเรา
- อาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

- ความปลอดภัย
- การปฏิบัติตนตามสุขอนามัย


- การรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น
แบบสังเกตพฤติกรรมขณะรับประทาน

- แบบบันทึกคำพูดและพฤติกรรมขณะเล่น
ด้านร่างกาย                        ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี

                  

- ความรับผิดชอบในห้องเรียน
- การเล่นในและนอกห้องเรียน
- แบบบันทึกพฤติกรรม
ขณะเล่น
ด้านอารมณ์จิตใจ
- มีคุณธรรมจริยธรรมและจิตใจที่ดีงาม


- การแต่งกาย

- การรับประทานอาหาร
- การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของตนเอง
- แบบบันทึกพฤติกรรม
ในขณะปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
ด้านสังคม
- ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับวัย



อวัยวะของร่างกาย
การรู้จักสิ่งต่าง ๆ ด้วยการมอง ฟัง สัมผัส ชิมรส และดมกลิ่น

- แบบสังเกตการตอบคำถาม                    แบบบันทึกการทดลองประสาทสัมผัส
ด้านสติปัญญา
- มีความสามารถในการคิดและการแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย

               จากตัวอย่าง ครูสามารถประเมินผู้เรียนครบพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน   ในแต่ละหน่วยการจัดประสบการณ์ ครูควรนำเครื่องมือการประเมินผลทุกข้อในแต่ละหน่วยมาตรวจสอบ จากตัวอย่าง หน่วยที่ 1 : ตัวเรา เป็นเพียงบางข้อเท่านั้นยังไม่ครบถ้วนตามหน่วย ซึ่งแต่ละหน่วยการจัดประสบการณ์ เครื่องมือประเมินผลไม่จำเป็นต้องวัดมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ครบทุกข้อและประสบการณ์สำคัญทุกข้อที่กำหนดในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย แต่เมื่อจบปีการศึกษา เครื่องมือประเมินผลจะต้องสะท้อนการประเมินมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์และประสบการณ์สำคัญทั้งหมดตามที่กำหนดในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ

มาตรฐาน สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ  และ คู่มือมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ   ... เป็นแนวทางการดำเนินงาน สำหรับหน่วยงานที่มีภารกิจ...