วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

รูปแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย

รูปแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
  ในระดับปฐมวัยศึกษาจะมีการใช้ศัพท์บางคำที่แตกต่างจากระดับอื่น เช่น คำว่า การสอน จะใช้ว่า การจัดประสบการณ์และคำว่า รูปแบบการสอนในระดับปฐมวัยศึกษาจะใช้คำว่า รูปแบบการจัดประสบการณ์

ความหมายของรูปแบบการเรียนการสอน
 - การบรรยายรายละเอียดของวิธีการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างชัดเจน รายละเอียดของการจัดการเรียนรู้จะระบุการวางแผนการสอน การนำไปใช้ การประเมินการสอน รูปแบบการสอนจะเป็นเสมือนแบบพิมพ์เขียวสำหรับครูใช้เป็นแนวการสอนของตน (กรมวิชาการ. 2544 : หน้า 3)
      - คำอธิบายหรือรายละเอียดของวิธีการสอนหรือการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้  ตามหลักการ  แนวคิดทฤษฎี  ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมายเฉพาะที่กำหนดไว้  (พัชรี ผลโยธิน. 2548 : หน้า 7)
  - สภาพลักษณะของการเรียนการสอนที่ครอบคลุมองค์ประกอบซึ่งได้รับการจัดไว้อย่างเป็นระเบียบ ตามหลักปรัชญา ทฤษฎี หลักการ แนวคิด หรือความเชื่อต่าง ๆ ประกอบด้วยกระบวนการหรือขั้นตอนสำคัญในการเรียนการสอน รวมทั้งวิธีสอนและเทคนิคการสอนต่าง ๆ ที่สามารถช่วยให้สภาพการเรียนการสอนนั้นเป็นไปตามทฤษฎี หลักการหรือแนวคิดที่ยึดถือและได้รับการพิสูจน์ ทดสอบ หรือยอมรับว่ามีประสิทธิภาพ สามารถใช้เป็นแบบแผนในการเรียนการสอนให้บรรลุวัตถุประสงค์เฉพาะของรูปแบบนั้นๆ  (ทิศนา แขมมณี. 2547 : หน้า 221) 
    
 รูปแบบการสอนหรือรูปแบบการจัดประสบการณ์ หมายถึง แบบแผนการจัดประสบการณ์ที่มีกระบวนการที่วางไว้อย่างเป็นระเบียบ โดยมีการจัดองค์ประกอบในการจัดประสบการณ์ที่มี (1) ปรัชญา /ทฤษฎี / แนวคิดที่เป็นหลักการของรูปแบบ (2) จุดหมาย (3) การจัดกระบวนการเรียนรู้ และ (4) การประเมินผล เพื่อให้ผู้เรียนได้ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของรูปแบบการสอนนั้น ๆ

                 
รูปแบบการเรียนการสอนจำเป็นต้องมีองค์ประกอบ  ดังนี้
1) มีปรัชญา ทฤษฎี หลักการ แนวคิด หรือความเชื่อที่เป็นพื้นฐานหรือเป็นหลักของรูปแบบการสอนนั้นๆ 
2) มีการบรรยายและอธิบายสภาพหรือลักษณะของการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับหลักการที่ยึดถือ
3) มีหลักการจัดระบบ คือ มีการจัดองค์ประกอบและความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของระบบให้สามารถนำผู้เรียนไปสู่เป้าหมายของระบบหรือกระบวนการนั้นๆ
4) มีการอธิบายหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีสอนและเทคนิคการสอนต่าง ๆ อันจะช่วยให้กระบวนการเรียนการสอนนั้น ๆ เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เอกสารอ้างอิง
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบ
การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี
ประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พัชรี ผลโยธิน. (2548). รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย ใน ประมวลสาระ
ชุดวิชาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย. หน่วยที่ 4  (หน้า 15-32).   
นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.




ทฤษฎีการสอน หลักการสอน รูปแบบการสอน วิธีสอน เทคนิคการสอน และ ทักษะการสอน

สรุปสาระหลัก ดังนี้

ความหมายของทฤษฎีการสอน หลักการสอน รูปแบบการสอน วิธีสอน เทคนิคการสอน และ ทักษะการสอน

ทฤษฎีการสอน (Teaching Theory) คือ ข้อความรู้ที่พรรณนา / อธิบาย / ทำนาย ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทางการสอน ที่ได้รับการพิสูจน์ ทดสอบ และการยอมรับว่าเชื่อถือได้ ซึ่งนักจิตวิทยาหรือนักการศึกษาอาจพัฒนาหรือแปลงมาจากทฤษฎีการเรียนรู้ เพื่อนำไปใช้เป็นหลักในการจัดการเรียนการสอนให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ทฤษฎีการสอนหนึ่ง ๆ มักประกอบไปด้วยหลักการสอนย่อย ๆ หลายหลักการ

หลักการสอน (Teaching Principle) คือ ข้อความรู้ย่อย ๆ ที่พรรณนา / อธิบาย / ทำนาย ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทางการสอนที่ได้รับการพิสูจน์ ทดสอบ และการยอมรับว่าเชื่อถือได้ สามารถนำไปใช้ในการสอนผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด หลักการสอนหลาย ๆ หลักการ อาจนำไปสู่การสร้างเป็นทฤษฎีการสอนได้

รูปแบบการสอน / รูปแบบการเรียนการสอน (Teaching / Instructional Model) คือ แบบแผนการดำเนินการสอนที่ได้รับการจัดเป็นระบบ อย่างสัมพันธ์สอดคล้องกับทฤษฎี / หลักการเรียนรู้หรือการสอนที่รูปแบบนั้นยึดถือ และได้รับการพิสูจน์ ทดสอบว่ามีประสิทธิภาพ สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายเฉพาะของรูปแบบนั้น ๆ โดยทั่วไปแบบแผนการดำเนินการสอนดังกล่าว มักประกอบด้วย ทฤษฎี / หลักการที่รูปแบบนั้นยึดถือและกระบวนการสอนที่มีลักษณะเฉพาะอันจะนำผู้เรียนไปสู่จุดหมายเฉพาะที่รูปแบบนั้นกำหนด

วิธีสอน (Teaching Method) คือ ขั้นตอนที่ผู้สอนดำเนินการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ ด้วยวิธีการต่างๆ ที่แตกต่างกันไปตามองค์ประกอบและขั้นตอนสำคัญอันเป็นลักษณะเด่นหรือลักษณะเฉพาะที่ขาดไม่ได้ของวิธีนั้น ๆ

เทคนิคการสอน (Teaching Technique) คือ กลวิธีต่าง ๆ ที่ใช้เสริมกระบวนการสอน ขั้นตอนการสอน วิธีการสอน หรือ การดำเนินการทางการสอนใดๆ เพื่อช่วยให้การสอนมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น

ที่มา:
ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครัั้งที่ 13. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.




มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ

มาตรฐาน สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ  และ คู่มือมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ   ... เป็นแนวทางการดำเนินงาน สำหรับหน่วยงานที่มีภารกิจ...