การจัดทำแผนฯดนตรีและการเคลื่อนไหวในหลักสูตรฯปฐมวัย๒๕๖๐

 

การจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ดนตรีและการเคลื่อนไหว 

ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐



ที่มา :   

กระทรวงศึกษาธิการ. (ม.ป.ป.).  แผนการจัดประสบการณ์ระดับปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ ๑ ภาคเรียนที่ ๑ เล่ม ๑.

ม.ป.ท. : โครงการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ระดับปฐมวัย (อนุบาลปีที่ ๑-๓)

สำนักบริหารงานการศึกษาภาคบังคับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

 

1. แนวทางการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์

การจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ชั้นอนุบาลปีที่ 1–3 สำหรับเด็กวัย 3–5 ขวบ จัดทำโดยวิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 โดยมีขั้นตอน ดังนี้

1. วิเคราะห์โครงสร้างหน่วยการจัดประสบการณ์ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560  โดยวิเคราะห์รวม 3 ชั้น ได้แก่ ชั้นอนุบาลปีที่ 1–2–3 เพื่อจัดเรียงลำดับความยากง่ายให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก

องค์ประกอบที่วิเคราะห์ประกอบด้วย




2. กำหนดรายละเอียดหน่วยการจัดประสบการณ์ ให้ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา เพื่อพิจารณาความสอดคล้องระหว่างมาตรฐานหลักสูตรปฐมวัย จุดประสงค์การเรียนรู้และสาระการเรียนรู้


มาตรฐานหลักสูตรปฐมวัย

จุดประสงค์

การเรียนรู้

สาระการเรียนรู้

 

มาตรฐาน

ตัวบ่งชี้

สภาพที่พึงประสงค์

ประสบการณ์สำคัญ

สาระที่ควรเรียนรู้

มาตรฐานที่ 1

ร่างกายเจริญเติบโต

ตามวัย และ

มีสุขนิสัยที่ดี

 

1.2 สุขภาพอนามัย สุขนิสัยที่ดี

1.2.2 ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร และหลังจากใช้ห้องน้ำ ห้องส้วมเมื่อมีผู้ชี้แนะ

1. ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร และหลังจากใช้ห้องน้ำห้องส้วมเมื่อ มีผู้ชี้แนะได้

1.3.1 การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน

(1) การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวัน

 

เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก

1. การระวังรักษาความสะอาดของร่างกาย

2. การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวัน

การล้างมือ

การแปรงฟัน

การรับประทานอาหาร

การใช้ห้องน้ำห้องส้วม


 

 

3. วางแผนกิจกรรมรายหน่วยการจัดประสบการณ์ เพื่อให้ครอบคลุมกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม ได้แก่

3.1 กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

3.2 กิจกรรมเสริมประสบการณ์

3.3 กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์

3.4 กิจกรรมเล่นตามมุม

3.5 กิจกรรมกลางแจ้ง

3.6 กิจกรรมเกมการศึกษา 


(ตัวอย่าง) การวางแผนกิจกรรมรายหน่วยการจัดประสบการณ์

ชั้นอนุบาลปีที่ 1 หน่วย "หนูทำได้"

วันที่ 1   กิจกรรม

เคลื่อนไหวและจังหวะ : การเดินรอบห่วงฮูลาฮูป

เสริมประสบการณ์ :

1. การดูภาพการล้างมือ อ่านภาพและพูดข้อความด้วยภาษาของตน

2. การปฏิบัติกิจกรรมการล้างมือ

ศิลปะสร้างสรรค์ : การเขียนรูปวงกลม

การเล่นตามมุม : มุมประสบการณ์ อย่างน้อย ๔ มุม

การเล่นกลางแจ้ง : การเล่นเครื่องเล่นสนาม

เกมการศึกษา : บอกลักษณะอุปกรณ์ในการล้างมือ


วันที่ 2   กิจกรรม

เคลื่อนไหวและจังหวะ : การเดินตามแนวเส้นโค้งบนกระดาษกาวย่นประกอบเสียงดนตรี

เสริมประสบการณ์ :

1. การดูภาพการแปรงฟันอ่านภาพและพูดข้อความด้วยภาษาของตน

2. การปฏิบัติกิจกรรมการแปรงฟัน

ศิลปะสร้างสรรค์ : การวาดรูปวงกลม

การเล่นตามมุม : มุมประสบการณ์ อย่างน้อย ๔ มุม

การเล่นกลางแจ้ง : การเล่นน้ำ เล่นทราย

เกมการศึกษา : บอกลักษณะอุปกรณ์ในการแปรงฟัน


วันที่ 3   กิจกรรม

เคลื่อนไหวและจังหวะ : การเดินตามแนวเส้นโค้งของเชือกประกอบเสียงดนตรี

เสริมประสบการณ์ :

1. การดูภาพการรับประทานอาหาร อ่านภาพและพูดข้อความด้วยภาษาของตน

2. การปฏิบัติกิจกรรมการรับประทานอาหาร

ศิลปะสร้างสรรค์ : พิมพ์ภาพจากวัสดุที่เป็นวงกลม

การเล่นตามมุม : มุมประสบการณ์ อย่างน้อย ๔ มุม

การเล่นกลางแจ้ง : การเล่นน้ำ เล่นทราย

เกมการศึกษา : บอกลักษณะอุปกรณ์ในการรับประทานอาหาร


วันที่ 4   กิจกรรม

เคลื่อนไหวและจังหวะ : การเดินตามแนวเส้นโค้งของสายยางประกอบเสียงดนตรี

เสริมประสบการณ์ :

1. การดูภาพการใช้ห้องน้ำ ห้องส้วม อ่านภาพ และพูดข้อความด้วยภาษาของตน

2. การปฏิบัติกิจกรรมการใช้ห้องน้ำห้องส้วม

ศิลปะสร้างสรรค์ : การปั้นดินน้ำมันเป็นเส้นแล้วขดให้เป็นวงกลม

การเล่นตามมุม : มุมประสบการณ์ อย่างน้อย ๔ มุม

การเล่นกลางแจ้ง : การเล่นเครื่องเล่นสนาม

เกมการศึกษา : บอกลักษณะอุปกรณ์ที่ใช้ในห้องน้ำห้องส้วม


วันที่ 5   กิจกรรม

เคลื่อนไหวและจังหวะ : การเดินตามแนวเส้นโค้งของริบบิ้นประกอบเสียงดนตรี

เสริมประสบการณ์ : การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การล้างมือ การแปรงฟัน

  การรับประทานอาหาร และการใช้ห้องน้ำห้องส้วม

ศิลปะสร้างสรรค์ : การฉีกกระดาษเป็นวงกลม

การเล่นตามมุม : มุมประสบการณ์ อย่างน้อย ๔ มุม

การเล่นกลางแจ้ง : การเดินตามแนวเส้นโค้งบนพื้นทราย

เกมการศึกษา : บอกลักษณะอุปกรณ์ในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน

 

4. นำกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมที่วางแผนไว้มาจัดทำเป็นผังความคิดแผนการจัดประสบการณ์            เพื่อนำเสนอภาพรวมของการจัดกิจกรรมตลอด 1 สัปดาห์

 


 

5. จัดทำแผนการจัดประสบการณ์รายวันที่สอดคล้องกับการวิเคราะห์หลักสูตรและการวางแผนกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม องค์ประกอบแผนการจัดประสบการณ์รายวัน ประกอบด้วย

5.1 จุดประสงค์การเรียนรู้

5.2 สาระการเรียนรู้ (ประสบการณ์สำคัญ / สาระที่ควรเรียนรู้)

5.3 กิจกรรมการเรียนรู้

5.4 สื่อ

5.5 การประเมินพัฒนาการ

 

2. รายละเอียดของแผนการจัดประสบการณ์

แผนการจัดประสบการณ์ชั้นอนุบาลปีที่ 13 แบ่งเป็น 3 ตอน คือ

ตอนที่ 1 ประกอบด้วยรายละเอียดการวิเคราะห์โครงสร้างหน่วยการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 และ พัฒนาการตามวัยของเด็กวัย 35 ปี ซึ่งส่งผลให้ครูสามารถจัดประสบการณ์หรือกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพตรงตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ รายละเอียดส่วนนี้จะปรากฏอยู่ด้านหน้าของแผนการจัดประสบการณ์ ชั้นอนุบาลปีที่ 13

ตอนที่ 2 แผนการจัดประสบการณ์ แบ่งเป็นระดับชั้นอนุบาลปีที่ 13 ภาคเรียนละ 2 เล่ม

ภาคเรียนที่ 1 เล่มที่ 1 ประกอบด้วยหน่วยการเรียนรู้ที่ 19

ภาคเรียนที่ 1 เล่มที่ 2 ประกอบด้วยหน่วยการเรียนรู้ที่ 1018

ภาคเรียนที่ 2 เล่มที่ 1 ประกอบด้วยหน่วยการเรียนรู้ที่ 1927

ภาคเรียนที่ 2 เล่มที่ 2 ประกอบด้วยหน่วยการเรียนรู้ที่ 28 36

หน่วยการเรียนรู้กำหนดโดยวิเคราะห์สาระที่ควรเรียนรู้จากหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 และ พิจารณาลำดับเวลา รวมทั้ง เทศกาลงานประเพณีสำคัญ นอกจากนี้ หากโรงเรียนจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนก็สามารถเพิ่มหน่วยการเรียนรู้ที่แสดงเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของโรงเรียนได้

ตอนที่ 3 ภาคผนวก เป็นส่วนที่รวบรวมสื่อที่ใช้ประกอบแผนการจัดประสบการณ์จะปรากฏอยู่ท้ายแผน            มีรายละเอียดเรียงตามลำดับดังนี้  

ความรู้สำหรับครู   • นิทาน/หนังสือภาพ   • เพลง   คำคล้องจอง   เกมการละเล่นประกอบกิจกรรมกลางแจ้ง  • เกมการศึกษา  

ความรู้สำหรับครู : รายละเอียดประกอบการใช้แผนการจัดประสบการณ์ให้มีประสิทธิภาพ



แผนการจัดประสบการณ์ชั้นอนุบาลปีที่ 1 – 2 – 3 เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กวัย 3 – 5 ขวบ ในสถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ดังนั้น ครูผู้สอนควรศึกษาแผนการจัดประสบการณ์ชั้นอนุบาลปีที่ 1 – 3 ให้เข้าใจก่อนนำไปใช้ให้สอดคล้องกับตารางกิจกรรมประจำวัน ดังนี้

          1. ตารางกิจกรรมประจำวัน  (ตัวอย่าง 1 รูปแบบ)

07.30 – 08.00 น.      รับเด็ก

08.00 – 08.30 น.      เคารพธงชาติ สวดมนต์และกิจกรรมหน้าเสาธง

08.30 – 08.45 น.      สนทนา ข่าวและเหตุการณ์

08.45 – 09.00 น.     กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

09.00 – 09.20 น.     กิจกรรมเสริมประสบการณ์

09.20 – 10.20 น.     กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์และกิจกรรมเล่นตามมุม

10.20 – 10.30 น.      พัก (รับประทานอาหารว่าง) 

10.30 – 11.00 น.     กิจกรรมกลางแจ้ง

11.00 – 12.00 น.      พักรับประทานอาหารกลางวัน แปรงฟัน

12.00 – 14.00 น.      นอนพักผ่อน

14.00 – 14.20 น.      เก็บที่นอน ล้างหน้า

14.20 – 14.30 น.      พัก (รับประทานอาหารว่าง)

14.30 – 14.45 น.     กิจกรรมเกมการศึกษา

14.45 – 15.00 น.      สรุป

หมายเหตุ ตารางนี้สามารถปรับยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสมของโรงเรียน โดยเฉพาะชั้นอนุบาลปีที่ 1 (3 ขวบ) เวลาในการทำกิจกรรมบางกิจกรรมจะปรับให้น้อยกว่าชั้นอนุบาลปีที่ 2 – 3 เช่น กิจกรรมเสริมประสบการณ์ แต่บางกิจกรรมจะใช้เวลามากกว่า เช่น กิจกรรมกลางแจ้ง กิจกรรมเล่นตามมุม เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของครูผู้สอนและช่วงความสนใจตามพัฒนาการของเด็ก


2. การจัดสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียน

การที่ครูผู้สอนปฐมวัยจะจัดกิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์ได้ผลดี จำเป็นต้องเตรียมพื้นที่ สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกให้มีลักษณะเอื้อต่อการจัดประสบการณ์ ดังนี้

2.1 การจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน


ภาพผังห้องเรียนและคำแนะนำสำหรับการจัดห้องเรียนชั้นอนุบาล


 

คำแนะนำสำหรับการจัดห้องเรียนชั้นอนุบาล

1. โต๊ะครูต้องอยู่ในจุดที่มองเห็นนักเรียนทุกคนได้ทั้งห้อง ครูอนุบาลต้องไม่หันหลังให้เด็กเป็นเด็ดขาด

2. ผลงานนักเรียนติดแสดงไว้ระดับสายตาของนักเรียน รวมทั้งป้ายนิเทศต่างๆ

3. ตู้เก็บของ อุปกรณ์หรือสื่อ วัสดุของเด็กควรใช้เป็นตู้เตี้ยที่เด็กหยิบจับและเก็บของเข้าที่ได้ด้วย

ตนเอง ตู้เตี้ยเหล่านี้สามารถใช้กั้นแบ่งพื้นที่มุมต่างๆได้แต่ต้องระวังไม่ให้มีซอกที่เด็กเข้าไปหลบหรือบังทึบจนครูไม่เห็นตัวเด็ก

4. บรรยากาศในห้องเรียนชั้นอนุบาลต้องโล่ง สะอาด เป็นระเบียบ แสงสว่างส่องทั่วถึง อากาศถ่ายเทสะดวก

5. การจัดมุมต่างๆในห้องเรียนตามผังตัวอย่างมีหลักสำคัญ คือ มุมสงบที่เด็กใช้ความคิดจะอยู่ใกล้กัน เช่น มุมหนังสือ มุมวิทยาศาสตร์ มุมที่มีเสียงดังจะอยู่บริเวณเดียวกัน เช่น มุมบล็อก มุมดนตรี มุมบทบาทสมมติ สำหรับมุมศิลปะ มุมช่างไม้จะอยู่ใกล้ประตูหรือทางไปห้องน้ำ เพราะเด็กจะได้ใช้น้ำผสมสีหรือทำความสะอาดได้สะดวก

6. เส้นทางระหว่างมุมต่างๆต้องไหลลื่นต่อเนื่องกันอย่าให้มีของระเกะระกะ เด็กสามารถย้ายจากมุมหนึ่งไปอีกมุมหนึ่งได้โดยสะดวก

7. ครูควรจัดทำพื้นที่แสดงอาณาเขตของแต่ละมุมให้ชัดเจน เช่น ปูพรม หรือเสื่อ บริเวณมุมหนังสือใช้เทปกาวติดพื้นห้องเพื่อแสดงพื้นที่ของแต่ละมุม หรือติดสติ๊กเกอร์เครื่องหมายของมุมต่างๆไว้บนพื้นห้องบริเวณมุมนั้น ครูควรแนะนำเด็กตั้งแต่เริ่มเข้ามาอยู่ในห้องอนุบาลเพื่อฝึกวินัยและข้อตกลงของห้องเรียน

8. จัดทำเครื่องหมายแสดงจำนวนเด็กที่จะเข้ามาเล่นในแต่ละมุม เพื่อให้เด็กสังเกตว่ามุมนั้นมีคนเล่นครบจำนวนหรือไม่ ถ้าครบแล้วก็ควรรอก่อนจนกว่าจะว่าง เพื่อฝึกการรอคอยและการเคารพกฎกติกาของสังคมตั้งแต่ยังเล็ก

9. ครูควรระลึกเสมอว่าห้องเรียนเด็กอนุบาลเป็นพื้นที่สร้างเสริมความอบอุ่นและความสบายใจ ดังนั้นสีที่ใช้ในห้องควรปลอดภัย ใช้สีอ่อน เย็นตา ไม่ใช้สีสันหลากหลายจนกระตุ้นประสาทรับรู้ของเด็กมากเกินไป สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ที่นำมาให้เด็กเล่นควรจัดหมุนเวียนตามหน่วยการเรียนรู้ ไม่ควรนำมาไว้มากเกินไปจนทำให้เด็กสับสน ไม่กระตุ้นความสนใจและเก็บเข้าที่ให้เป็นระเบียบได้ยาก  (อ่านต่อในเล่มเอกสารอ้างอิง ดังที่ระบุไว้ข้างต้น)


พื้นที่ดนตรี การเคลื่อนไหว และการบริหารสมอง

(Music Movement and Brain Gym)

เด็ก ๆ รักเสียงเพลง ดนตรี ซึ่งมีจังหวะและท่วงทำนองต่างลีลากันไป เด็กได้พัฒนาการประสานงานของส่วนต่างๆ ของร่างกายในการแกว่งไกวไป มา การเต้น กระโดดขึ้นลง ตบมือ ตบเท้า ตามจังหวะดนตรี

นอกจากนี้ ดนตรียังมีผลกระทบต่ออารมณ์ของเด็กด้วย เช่น ดนตรีเบาจังหวะสบายไม่เร่งร้อนช่วยทำให้เด็กรู้สึกผ่อนคลาย ง่วงนอน ในขณะที่เพลงจังหวะเร็ว เร้าใจ ทำให้เด็กรู้สึกตื่นตัว อยากก้าวเดินไปรอบห้องตามจังหวะนั้น

โดยธรรมชาติของเด็กเมื่อได้ยินเสียงดนตรีเด็กจะอยากลองเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายเพื่อดูว่าทำอะไรได้บ้าง ในพื้นที่เท่าใด สำหรับเด็กทุกวัย ดนตรีและการเคลื่อนไหวมีผลต่อพัฒนาการด้านภาษา ทักษะการฟัง การประสานงานของส่วนต่างๆ ของร่างกาย และความสามารถในการถ่ายทอดจังหวะออกมาเป็นท่าทางต่างๆได้

ดนตรีช่วยเสริมพัฒนาการได้อย่างไร

1. เด็กพัฒนาทักษะด้านความคิด

เชื่อมโยงเสียงเพลงกับแหล่งกำเนิด เช่น หันไปทางที่ได้ยินเสียง

ค้นพบความเป็นเหตุและผล เช่น การเคาะทัพพีไม้บนกระทะทำให้เกิดเสียง

แยกแยะลำดับเสียง เช่น เสียงที่ต่างระดับของเครื่องดนตรี

นำความรู้ไปใช้ เช่น ใช้การเคาะกระทะแทนเสียงกลอง

แก้ปัญหา เช่น การพยายามที่จะเป่าให้เป็นเพลง

2. เด็กพัฒนาทักษะทางด้านสังคม

เล่นร่วมกัน

สร้างสัมพันธ์กับเพื่อน

3. เด็กพัฒนาทักษะทางด้านอารมณ์

แสดงออกทางอารมณ์ได้ตามเสียงดนตรี

เริ่มสร้างรสนิยมด้านเสียงเพลงของตัวเอง

4. เด็กพัฒนาทักษะด้านร่างกาย

ประสานความเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อตา มือ การใช้นิ้วมือทำท่าประกอบเพลง

ฝึกใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น การกระโดด การโยกตัว

พัฒนาการเข้าจังหวะ เช่น การตบมือ ตบเท้า ตามจังหวะดนตรี

สื่อ/วัสดุ/อุปกรณ์

กลอง เครื่องเคาะ ฉิ่ง เครื่องเป่า เครื่องดีด - สี

ที่เก็บเครื่องดนตรี

กิจกรรมเสนอแนะ

เล่นนิ้วมือประกอบคำคล้องจอง

เคลื่อนไหวสร้างสรรค์

เกมประกอบดนตรี

 

กิจกรรมหลักของชั้นอนุบาลตามแผนการจัดประสบการณ์ชั้นอนุบาลปีที่ 1 – 3 (3 – 5 ขวบ) ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมซึ่งออกแบบและเรียงลำดับกิจกรรมตามหลักการส่งเสริมความพร้อมด้านพัฒนาการอย่างเป็นองค์รวมครบทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา กิจกรรมหลักทั้ง 6 กิจกรรมนี้ จัดต่อเนื่องกันโดยใช้เวลาระหว่าง 15 – 30 นาที และสลับกันระหว่างกิจกรรมหนัก เบา กิจกรรมหนัก หมายถึง กิจกรรมที่เด็กใช้พลังงานทางกายมาก เช่น กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมกลางแจ้ง เป็นต้น กิจกรรมเบา หมายถึง กิจกรรมที่เด็กใช้พลังงานทางกายน้อย เช่น กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เกมการศึกษา เป็นต้น

การจัดประสบการณ์ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 – 3 (3 – 5 ขวบ) มีลักษณะการจัดแบบบูรณาการประสบการณ์สำคัญด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา ซึ่งหมายถึงเด็กได้ทำกิจกรรมส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ พัฒนาการทางภาษาและการรู้หนังสือ ตลอดจนทักษะทางสังคม เรียนรู้ค่านิยมไทยและทักษะชีวิตที่จำเป็นสำหรับวัยอนุบาล โดยเรียนรู้ผ่านการทำกิจกรรมหลักและกิจกรรมสำรวจทดลองตามแนวบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย ในการจัดประสบการณ์ครูจะใช้เทคนิคอนุบาล เช่น การเล่านิทาน การร้องเพลง ท่องคำคล้องจอง การจัดกิจกรรมกลางแจ้ง ฯลฯ เพื่อให้เด็กอนุบาลเรียนรู้อย่างมีความสุขสนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการตามวัยของเด็กแต่ละคนให้เต็มตามศักยภาพและสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เกิดคุณค่าต่อตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ สอดคล้องกับปรัชญาการศึกษาปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 กระทรวงศึกษาธิการ

 

"การจัดประสบการณ์ระดับชั้นอนุบาลจัดแบบบูรณาการเป็นองค์รวม

ไม่แยกเป็นรายวิชา"


แนวทางการจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม

กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมที่ปรากฏในตารางกิจกรรมประจำวัน ประกอบด้วย

1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ  เวลา 15 นาที

2. กิจกรรมเสริมประสบการณ์      เวลา 20 นาที

3. กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์        เวลา 30 นาที

4. กิจกรรมเล่นตามมุม              เวลา 30 นาที

5. กิจกรรมกลางแจ้ง                เวลา 30 นาที

6. กิจกรรมเกมการศึกษา           เวลา 15 นาที

 

การออกแบบกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม ครูผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อทำความเข้าใจมาตรฐานปฐมวัย ตัวบ่งชี้ สภาพที่พึงประสงค์และประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ทั้งนี้ แผนการจัดประสบการณ์ชั้นอนุบาลปีที่ 13 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้วิเคราะห์หลักสูตรและออกแบบกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ในที่นี้ จึงนำเสนอตัวอย่างการออกแบบกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม ใน กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ซึ่งกิจกรรมหลักทั้ง 6 กิจกรรมใช้แนวทางการวิเคราะห์และออกแบบกิจกรรมเหมือนกันกับแนวทางการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์

1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ (เวลา 15 นาที)

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะมีความสอดคล้องกับมาตรฐาน ตัวบ่งชี้และประสบการณ์สำคัญในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 กระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้

มาตรฐานที่ 2 กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรง ใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน

ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 เคลื่อนไหวร่างกายอย่างคล่องแคล่ว ประสานสัมพันธ์และทรงตัวได้

มาตรฐานที่ 3 มีสุขภาพจิตดีและมีความสุข

ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 แสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม

มาตรฐานที่ 4 ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรีและการเคลื่อนไหว

ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 สนใจ มีความสุขและแสดงออกผ่านงานศิลปะ ดนตรีและการเคลื่อนไหว

มาตรฐานที่ 11 มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

ตัวบ่งชี้ที่ 11.2 แสดงท่าทาง/เคลื่อนไหวตามจินตนาการอย่างสร้างสรรค์

 


1.1 ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย

        1.1.1 การใช้กล้ามเนื้อใหญ่        

                (1) การเคลื่อนไหวอยู่กับที่

                               ตัวอย่างประสบการณ์และกิจกรรม ตบมือ ผงกศีรษะ เคลื่อนไหวไหล่ เอว มือและแขน มือและนิ้วมือ เคาะเท้าเท้าและปลายเท้าอยู่กับที่

                    (2) การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่

                                ตัวอย่างประสบการณ์และกิจกรรม คลาน คืบ เดิน วิ่ง กระโดด สไลด์ ควบม้า ก้าวกระโดด เคลื่อนที่ไป ข้างหน้า ข้างหลัง  ข้างซ้าย ข้างขวา หมุนตัว

                    (3) การเคลื่อนไหวพร้อมวัสดุอุปกรณ์

                            ตัวอย่างประสบการณ์และกิจกรรม เคลื่อนไหวร่างกายพร้อมเชือก ผ้าแพร ริบบิ้น วัสดุอื่นๆที่เหมาะสมตามจินตนาการ เพลงบรรเลง คำบรรยายของผู้สอน


    1.1.5 การตระหนักรู้เกี่ยวกับร่างกายตนเอง

                    (1) การเคลื่อนไหวโดยควบคุมตนเองไปในทิศทาง ระดับ และพื้นที่

                            ตัวอย่างประสบการณ์และกิจกรรม เคลื่อนไหวร่างกายไปในทิศทางต่างๆ เช่น ซ้าย ขวา หน้า หลัง ทั่วบริเวณที่กำหนดในระดับสูง กลาง และต่ำ มีการเคลื่อนไหวที่หลากหลาย เช่น มุด ลอด คลาน กลิ้ง กระโดด

 

    1.2 ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ

    1.2.1 สุนทรียภาพ ดนตรี          

                       (3) การเคลื่อนไหวตามเสียงเพลง/ดนตรี

                                ตัวอย่างประสบการณ์และกิจกรรม แสดงท่าทาง เคลื่อนไหวประกอบเสียงเพลง ดนตรีหรือจังหวะช้าและเร็ว

    1.2.4 การแสดงออกทางอารมณ์   

                    (3) การเคลื่อนไหวตามเสียงเพลง/ดนตรี 

                                ตัวอย่างประสบการณ์และกิจกรรม แสดงท่าทางเคลื่อนไหวประกอบเสียงเพลง ดนตรีหรือจังหวะช้าและเร็ว

 

การจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะให้บรรลุตามมาตรฐาน ตัวบ่งชี้ และสภาพที่พึงประสงค์ ซึ่งกำหนดไว้ในหลักสูตร ครูผู้สอนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 13 (35 ขวบ) ควรจัดประสบการณ์ในแต่ละหน่วยให้ครอบคลุมหมุนเวียนกันไปทุกสัปดาห์ ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงความพร้อมและระดับพัฒนาการของเด็กแต่ละวัยเป็นหลัก

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะที่ปรากฏในแผนการจัดประสบการณ์ชั้นอนุบาลปีที่ 13 (35 ขวบ) ประกอบด้วย

กิจกรรมที่จัด

1. การเคลื่อนไหวพื้นฐาน เช่น การเดิน การวิ่ง การก้าวกระโดด การทำท่าควบม้า การเขย่ง ฯลฯ

2. การเคลื่อนไหวเลียนแบบท่าทางสัตว์ หรือวัตถุที่เคลื่อนที่ได้ เช่น ยานพาหนะต่างๆ ฯลฯ

3. การเคลื่อนไหวประกอบบทเพลง หรือ การทำท่ากายบริหารตามจังหวะทำนองเพลง

4. การเคลื่อนไหวสร้างสรรค์ตามจินตนาการที่เด็กคิดท่าทางเอง

5. การเคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์ เช่น ห่วงฮูลาฮูป แถบผ้า ริบบิ้น ถุงทราย ฯลฯ

6. การเคลื่อนไหวแสดงท่าทางตามคำบรรยายหรือเรื่องราวที่ครูเล่า

7. การเคลื่อนไหวตามคำสั่งหรือข้อตกลง เช่น การจัดกลุ่มตามจำนวนที่ครูระบุ การจัดกลุ่มตามสี รูปทรงของวัสดุที่เด็กถือ ฯลฯ

8. การเคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม โดยผลัดกันแสดงบทบาทผู้นำและผู้ตามในการคิดสร้างสรรค์ท่าทางการเคลื่อนไหวให้เพื่อนปฏิบัติตาม

 

กระบวนการจัดประสบการณ์/กิจกรรม

1. สร้างข้อตกลงพื้นฐาน หมายถึง การทำความเข้าใจหรือข้อตกลงร่วมกันเรื่องสัญญาณและจังหวะ โดยครูใช้เครื่องเคาะจังหวะต่างๆ เช่น เคาะไม้ เคาะระฆังสามเหลี่ยม รำมะนา กลอง กรับ ฯลฯ (ครูไม่ควรใช้สัญญาณนกหวีดซึ่งเหมาะกับกิจกรรมกลางแจ้ง) และกำหนดข้อตกลงสัญญาณการเคาะจังหวะก่อนเริ่มทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เช่น

1.1 ให้จังหวะ 1 ครั้ง สม่ำเสมอ หมายถึง ให้เด็กเดินหรือเคลื่อนไหวไปเรื่อยๆตามจังหวะ

1.2 ให้จังหวะ 2 ครั้ง ติดกัน หมายถึง ให้เด็กหยุดการเคลื่อนไหวโดยค้างนิ่งอยู่ในท่านั้น

1.3 ให้จังหวะ รัว หมายถึง ให้เด็กเคลื่อนไหวอย่างเร็ว

2. การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ ครูควรสนับสนุนให้เด็กเคลื่อนไหวอย่างอิสระตามความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ โดยพยายามใช้ส่วนต่างๆของร่างกายให้มากที่สุด (ไม่ใช้เพียงแขน ขา อย่างเดียว) รวมทั้งฝึกให้คุ้นเคยกับคำศัพท์ที่เป็นพื้นฐานการเคลื่อนไหว เช่น 

2.1 หาพื้นที่เฉพาะตัว หมายถึง การที่เด็กแต่ละคนเลือกยืนในระยะห่างกันพอสมควรและ

      สามารถเคลื่อนไหวได้สะดวก โดยไม่ชนกับเพื่อน

2.2 เปลี่ยนทิศทาง หมายถึง การเคลื่อนที่ในทิศทางต่างกัน ไปทั่วบริเวณห้องทั้งด้านซ้าย ขวา

      หน้า หลัง

2.3 ปรับระดับ หมายถึง การเคลื่อนที่หลายระดับต่างกัน เช่น ระดับต่ำ กลาง สูง

3. การจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ควรสร้างบรรยากาศของความสนุกสนาน ครูอาจบูรณาการกับหน่วยการจัดประสบการณ์ โดยเป็นส่วนหนึ่งของการนำเข้าสู่บทเรียน เช่น เคลื่อนไหวร่างกายประกอบเพลง หรือคำคล้องจองตามหน่วย ครูบรรยายให้เด็กเคลื่อนไหวประกอบ เช่น หน่วยการคมนาคม มีการเคลื่อนไหวเลียนแบบยานพาหนะต่างๆ เช่น รถจักรยาน เรือ รถไฟ เครื่องบิน เป็นต้น

4. เมื่อเด็กคุ้นเคยกับจังหวะและสัญญาณต่างๆแล้ว ครูสามารถเพิ่มศักยภาพของเด็กได้โดยให้เด็กสังเกตจังหวะจากเครื่องดนตรีต่างๆ และ จำแนกเสียงเครื่องดนตรีแต่ละประเภท เป็นการสร้างสุนทรียภาพและพื้นฐานด้านดนตรี เช่น เปิดเพลงบรรเลงให้เด็กเคาะตะเกียบตามจังหวะของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด เป็นต้น

5. หลังจากเด็กทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะแล้ว ต้องให้เด็กผ่อนคลายกล้ามเนื้อ โดยการนั่งพักสบายๆ หรือนอนเล่นบนพื้นห้อง ครูอาจเปิดเพลงเบาๆ เพื่อให้เด็กพักผ่อน

 

ตัวอย่าง จาก หน่วย การจัดประสบการณ์ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐

หน่วยที่ ๓ ตัวเรา ชั้นอนุบาลปีที่ ๑ ๓ ภาคเรียนที่ ๑

(ข้อมูลจาก : แผนการจัดประสบการณ์ระดับปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ ๑ ภาคเรียนที่ ๑ เล่ม ๑)




 


วันที่ 1

 


 วันที่ 2

 


วันที่ 3



 วันที่ 4

 



 วันที่ 5

  


 


 

 


 

 


 

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ

มาตรฐาน สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ  และ คู่มือมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ   ... เป็นแนวทางการดำเนินงาน สำหรับหน่วยงานที่มีภารกิจ...