วันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2566

นวัตกรรมเพื่อความสุขของเด็กปฐมวัย


นวัตกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข (ระดับชั้นปฐมวัย)

(นวัตกรรม/ชิ้นงาน/วิธีการ/สื่อ ส่งเสริมการเรียนรู้)

 

ชื่อเจ้าของผลงาน         นางสาวสานฝัน สูตรตันติ

1.  ชื่อนวัตกรรม “กระทงจากกระดาษเหลือใช้” สอนชั้น อนุบาล 3/2 เวลา 1 ชั่วโมง 

     ช่วงเวลาที่ใช้  ( / ) กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์  (   ) นอกเวลาเรียน (ระบุช่วงเวลา)....................

 

2. เป้าหมายของการทำนวัตกรรมในครั้งนี้

    1. เพื่อส่งเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กของนักเรียน

    2. เพื่อฝึกให้นักเรียนมีสมาธิในการทำกิจกรรม

    3. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนทำกิจกรรมที่ตนเองต้องการได้สำเร็จ มีความภาคภูมิใจในผลงานของตน

    4. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความรักในความเป็นไทย วัฒนธรรมไทย และประเพณีไทยผ่านการทำกระทง

 

3. ขั้นตอน/กระบวนการ/วิธีการในการนำกิจกรรมไปใช้

    3.1 เล่าประวัติความเป็นมาของวันลอยกระทง ร้องเพลงลอยกระทงและร่วมรำวง เล่าถึงการทำกระทง

    3.2 ให้นักเรียนนั่งเป็นวงกลม และแนะนำวัสดุ/อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำกระทง ได้แก่ กาวลาเท็กซ์  กรรไกร กระดาษลังที่ตัดเป็นรูปวงกลมสำหรับใช้เป็นฐานของกระทง  กระดาษต้นแบบรูปเทียนและกลีบของกระทง  สีไม้

    3.3 แจกกระดาษต้นแบบรูปเทียนและกลีบของกระทง ให้นักเรียนระบายสี

    3.4 นักเรียนลงมือระบายสี กระดาษต้นแบบรูปเทียนและกลีบของกระทงตามจินตนาการด้วยสีไม้

    3.4 นักเรียนมารับฐานของกระทงจากคุณครู และเขียนชื่อตนเองไว้ใต้ฐานของกระทง

    3.5 นักเรียนใช้กรรไกรตัดกระดาษ ต้นแบบรูปเทียนและกลีบของกระทง ตามรอยเส้น

    3.6 นักเรียนทากาวลาเท็กซ์แล้วติด กระดาษต้นแบบรูปเทียนและกลีบของกระทงลงบนฐานวงกลมที่เตรียมไว้ โดยมีคุณครูคอยดูแล แนะนำ ช่วยเหลือ

 

4. ความสำเร็จของการใช้นวัตกรรมในครั้งนี้ คือ 

     - นักเรียนมีความสุขและสนุกสนานในการทำกิจกรรมทั้งรายบุคคลและกลุ่ม

     - นักเรียนมีความตั้งใจ มีสมาธิ สามารถทำกิจกรรมจนสำเร็จ มีผลงาน มีความภาคภูมิใจในตนเอง

     - นักเรียนมีความภาคภูมิใจ ความรักในความเป็นไทย วัฒนธรรมไทย และประเพณีไทย

 

5. สิ่งที่นักศึกษาได้เรียนรู้จากการใช้นวัตกรรมในครั้งนี้ คือ

     ได้เรียนรู้ว่าการให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองจะทำให้เขาซึมซับสิ่งต่างๆ ได้ง่ายกว่าการอธิบายให้ฟังเพียงอย่างเดียว และเป็นการสร้างความภาคภูมิใจให้นักเรียน ได้ปลูกฝังในความเป็นไทย วัฒนธรรมไทย และประเพณีไทย นอกจากนี้ ยังทำให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข มีความเพลิดเพลินไปกับการเรียนและการลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเอง 






    “ความสุข” หมายถึง สภาวะที่บุคคลรับรู้ว่าตนเองได้ทำในสิ่งที่ตนต้องการและทำได้สำเร็จ มีความเป็นตัวของตัวเอง มีความภาคภูมิใจในการกระทำของตน มีความคิดเชิงบวก มีความกระตือรือร้นในการดำเนินชีวิตที่จะนำไปสู่การมีสุขภาพที่ดี มีการพัฒนาตน มีสัมพันธภาพที่ดีกับคนรอบข้างและสังคม สามารถดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง และมีใจที่สงบ มั่นคงทางอารมณ์  

(นิยามของ “ความสุข” สำหรับเด็กปฐมวัย จากงานวิจัยของ สุภาภรณ์ ปั้นกล่ำ. 2557: 13 )



ความหมายของความสุข และความสุขในเด็กปฐมวัย 
    “สุขภาพ” หมายถึง ภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย จิตใจ ปัญญา และสังคม เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุล” ตามนิยาม “สุขภาพ” ขององค์การอนามัยโลก และพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 หรือกล่าวได้ว่า “สุขภาวะที่สมบูรณ์ทุกๆ ทางเชื่อมโยงกัน สะท้อนถึงความเป็นองค์รวมอย่างแท้จริงของสุขภาพที่เกื้อหนุนและเชื่อมโยงกันทั้ง 4 มิติ” นำมาสู่วิสัยทัศน์ของสานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คือ “คนไทยมีสุขภาวะยั่งยืน หมายถึงคนไทยมีสุขภาวะดีครบทั้งสี่ด้าน ได้แก่ กาย จิต สังคม และปัญญา อันได้แก่ 
    1. สุขภาวะทางกาย หมายถึง การมีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง มีเศรษฐกิจพอเพียง มีสิ่งแวดล้อมดี และไม่มีอุบัติภัย เป็นต้น 
    2. สุขภาวะทางจิต หมายถึง จิตใจที่เป็นสุข ผ่อนคลาย ไม่เครียด คล่องแคล่ว มีความเมตตา กรุณา มีสติ และมีสมาธิ เป็นต้น 
    3. สุขภาวะทางสังคม หมายถึง การอยู่ร่วมกันด้วยดี ในครอบครัว ในชุมชน ในที่ทางาน ในสังคม ในโลก ซึ่งรวมถึงการมีบริการทางสังคมที่ดี และมีสันติภาพ เป็นต้น 
    4. สุขภาวะทางปัญญา (จิตวิญญาณ) หมายถึง ความสุขอันประเสริฐที่เกิดจากมีจิตใจสูง เข้าถึงความจริงทั้งหมด ลดละความเห็นแก่ตัว มุ่งเข้าถึงสิ่งสูงสุด ซึ่งหมายถึงพระนิพพาน หรือพระผู้เป็นเจ้าหรือความดีสูงสุด สุดแล้วแต่ความเชื่อที่แตกต่างกันของแต่ละคน

    สุขภาวะ หมายถึง การดำรงชีพของบุคคลอย่างมีสุขทั้งกาย และ จิต อาจกล่าวได้ว่ามิใช่เพียงไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ แต่รวมถึงการมีชีวิตที่มีร่างกายแข็งแรง จิตแข็งแรง มีความสุขอยู่ในสังคม โลกในปัจจุบัน ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว บางอย่างที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดภาวะคุกคามต่อสุขภาวะคนไทยเกิดเป็นปัญหาด้าน สุขภาพ มลภาวะที่เกิดขึ้น การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวกับอาหาร วิถีชีวิต ค่านิยมและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไปล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาทั้งสิ้นก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บเช่นเกิดโรคเอดส์ เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด เกิดอุบัติภัยสูงขึ้น เป็นต้น มีโรคหลายโรคที่อาจป้องกันหรือสามารถลดอัตราเสี่ยงลงได้ ซึ่งต้องการความร่วมมือร่วมใจจากหลายๆฝ่ายช่วยการสร้างเสริมสุขภาพให้กับสังคม 
    นักจิตวิทยาชื่อ รัทท์ แวนโฮเฟ่น (1997) ให้นิยามความสุขว่า หมายถึง การประเมินของแต่ละคนว่า ชื่นชอบชีวิตโดยรวมของตนเองมากแค่ไหน การที่เราบอกว่าเรามีความสุข จึงหมายถึงเรารู้สึกชอบหรือพึงพอใจกับชีวิตเรานั่นเอง คนที่มีความสุขนั้น เป็นคนที่แทบจะไม่รู้สึกวิตกกังวลกับชีวิตตนเอง ชอบสนุกสนานอยู่กับเพื่อนฝูง และชอบประสบการณ์ใหม่ ๆ มีอารมณ์มั่นคงไม่เปลี่ยนแปลงขึ้นลงง่าย และมักจะหวังว่าตนจะพบเจอสิ่งดี ๆ ในอนาคต 
    พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (2550) กล่าวถึง นิยามแห่งความสุข ว่าในพุทธศาสนา ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือชั่ง ตวง วัด อย่างเช่น ความสุขในใจเรา บางทีเราวัดไม่ได้ แต่เราสามารถรู้ได้ สัมผัสได้  ในทัศนะของพุทธศาสนา ความสุข นิยามได้ ความสุข คืออะไร ความสุข คือ สภาวะที่ทำได้ง่าย หมายความว่า เมื่อสภาวะอย่างนี้เกิดขึ้นแล้ว เราสามารถรับมือกับมันได้อย่างสบาย ๆ ไม่ต้องจำใจยอมรับ จำใจทำ 
    ประเภทของความสุข มี 2 ประเภท คือ 
    1. ความสุขทางกาย คือ สุขที่แสดงผลออกมาทางกาย คือ ตา หู จมูก และลิ้น 
    2. ความสุขทางใจ คือ เจตสิกสุข คือ ใจที่เป็นสุข 
    ในทางธรรมมะความสุขมีอยู่ 2 ประเภท 
    1. ความสุขในโลก หรือโลกียสุข คือ ความสุขที่กิเลสของเราได้รับการพะเน้าพะนอ เช่น ตาอยากเห็น เราก็ให้มันเห็น ลิ้นอย่างลิ้มรส ก็ได้ลิ้ม กายอยากสัมผัส และก็ได้สัมผัส ฯลฯ 
    2. ความสุขที่อยู่เหนือโลก หมายความว่า เป็นความสุขที่เกิดจากสภาพที่แท้จริงของใจ เกิดจากปัญญารู้เท่าทันความจริงของโลก

    พจนานุกรมของราชบัณฑิตได้ให้ความหมายของคำว่า “สุข” ว่า หมายถึง ความสบาย ความสำราญ ความปราศจากโรค 
    ความสุขเกิดจากสภาพอารมณ์ของเราซึ่งได้รับแรงปะทะจากทั้งภายในและภายนอก และมีหลายระดับซึ่งตามแนวคิดของตะวันตกแล้วแบ่งออกได้เป็น 4 ระดับ ดังนี้ 
    ความสุขระดับที่ 1 เป็นความสุขขั้นพื้นฐานที่มาจากสิ่งที่อยู่ภายนอกตัวเรา ความสุขระดับนี้ คือ ความพอใจที่เราได้รับการตอบสนองด้วยวัตถุในทันที หรือได้รับโดยตรง ซึ่งเมื่อเราได้ในสิ่งที่ต้องการแล้ว ความรู้สึกเป็นสุขก็จะตามมา เช่น การกินไอศครีม ซื้อรถ การซื้อสินค้า แบรนด์เนม การไปพักผ่อนในที่พักต่างอากาศ ความรู้สึกพอใจดังกล่าวเป็นความรู้สึกระยะสั้น ๆ และดูจะบางเบา เพราะเมื่อได้รับการ ตอบสนองตามต้องการแล้ว ความสุขก็จะค่อย ๆ ลดลง 
    ความสุขระดับที่ 2 เป็นความสุขที่เกี่ยวข้องกับตัวเรา (ในต้นฉบับใช้คำว่า ego ซึ่งในภาษาลาติน หมายถึง I) ความรู้สึกส่วนนี้จะมีก็ต่อเมื่อเราได้รับความสนใจ ได้รับการสรรเสริญ ชื่นชมยินดี หรือเมื่อเราเห็นว่า ตัวเองมีความหมายเหนือสิ่งอื่น เช่น เมื่อเราชนะ มีอานาจ ได้รับการชื่นชม หรือมีชื่อเสียงโด่งดัง เราก็จะมีความสุข และเกิดความพึงพอใจในตนเอง ความสุขในระดับนี้เป็นเหมือนสภาวะภายในใจ (Ego) จนเกิดความรู้สึกเสมือนกับว่า สิ่งที่เราได้รับ เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในโลก 
    ความสุขระดับที่ 3 อย่างไรก็ตาม ความสุขระดับที่ 2 ใช่ว่าจะเป็นความรู้สึกพึงพอใจทั้งหมด เพราะยังมีบางอย่างที่ผิดพลาดอยู่ เนื่องจากมนุษย์ยังต้องการความรักความจริง ความดีงาม ความยุติธรรม ความสวยงาม และการมีชีวิตที่ดี ความต้องการดังกล่าวแสดงออกในรูปแบบการบาบัดเยียวยาเพื่อสร้างสิ่งดีงาม (Charity-seeking Cures) รู้สึกถึงความสัมพันธ์กัน รู้จักที่จะเสียสละ รู้จักให้อภัย รู้จักการ ให้ความยุติธรรมกับคนอื่น เราต้องการให้โลกเป็นผืนแผ่นดินที่สงบสุข และนั่นจะส่งผลดีต่อชีวิต ต่อกาลเวลา ต่อพลังงาน และต่อความเฉลียวฉลาดจากการสงเคราะห์คนอื่นความสุขของเราจึงไม่ได้ถูกแบ่งแยก (Separate) จากความสุขอื่น ๆ แต่เหมือนเป็นองค์รวมจากทุก ๆ สิ่งที่ประสานรวมเข้าด้วยกัน ความดีงามในใจ (Common Good) จึงเป็นการผสมผสานของความสุขจากส่วนต่าง ๆ ประกอบรวมกัน 
    ความสุขระดับที่ 4 เป็นความสุขขั้นสูงสุด ในความหมายของฝรั่งแล้ว ไม่ได้หมายถึง การหมดสิ้นในสิ่งที่เราปรารถนา หรือความไม่อยาก ไม่ต้องการอะไรอีกต่อไปแล้ว เพราะมนุษย์ยังต้องการวิธีการดาเนินชีวิต (Sublime) ซึ่งบางสิ่งบางอย่างอยู่เหนือจินตนาการมนุษย์ อยู่เหนือสิ่งที่มนุษย์จะเข้าใจได้ ดังนั้นความสุขที่แท้จริงก็คือ การได้ทบทวนความปรารถนาของตัวเองว่า เราต้องการความรัก ความดีงาม ความจริง ความสวยงาม และยังต้องการการกระทำเหมือนที่ผ่านมาหรือไม่ อย่างไรก็ตาม เรายังต้องการความสมบูรณ์แบบและความต้องการที่ไม่สิ้นสุดอยู่ดี  ความสุขในขั้นสูงสุดนี้ จึงเป็นความสุขในความศรัทธาที่พร้อมจะกระทำสิ่งต่าง ๆ โดยไม่มีเงื่อนไข เช่น ความศรัทธาต่อพระเจ้า ความเชื่อมั่นว่าการทำดีคือความสุข (ไม่ใช่การทาดีแล้วต้องได้ดี) ความสุขในระดับนี้จึงคล้ายกับหลักธรรมของพุทธศาสนาที่เชื่อว่า ความสุขที่ไม่ต้องมีอามิสสินจ้างใดมาเป็นเหยื่อล่อ หรือ "นิรามิสสุข" (วารสารทรัพยากรมนุษย์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 2: สันติชัย อินทรอ่อน)

    บุญไท เจริญผล (2549) กล่าวถึงคุณค่าและความสาคัญของกระบวนการทางศิลปะที่สร้างสุขภาวะให้กับเด็ก คือ 
    1. สุขภาวะทางสติปัญญา เราจะพบว่ากระบวนการทางานศิลปะนั้นจะเริ่มจากการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งเป็นประสบการณ์ บูรณาการประสบการณ์ความคิดและจินตนาการเข้าด้วยกัน แล้วจึงสังเคราะห์เส้น รูปร่าง รูปทรง และสี ในขั้นสุดท้าย ช่วยพัฒนาด้านการเรียนรู้ หรือพัฒนาการสติปัญญาโดยตรง เป็นการสะสมพลังปัญญาเพื่อให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพต่อไป 
    2. สุขภาวะทางอารมณ์-จิตใจ คุณค่าที่ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อเด็กรับรู้ สะสมประสบการณ์และเรียนรู้นั้น นอกจากเขาจะต้องปรับพฤติกรรมต่าง ๆ แล้ว เด็กยังต้องปรับอารมณ์ของเขาอีกด้วย ซึ่งอาจจะต้องมีความพอใจ มีความกระหายและมีความมั่นคงที่จะเรียนรู้ การทางานศิลปะไม่ว่าจะเป็นปั้นดิน วาดภาพระบายสี เด็กได้แสดงออกอย่างเพลิดเพลินสนุกสนาน และแสดงความสามารถ และเห็นผลสาเร็จจากการแสดงความสามารถของตน ความเพลิดเพลินและความภาคภูมิใจจะช่วยพัฒนาอารมณ์ของเด็กได้อย่างดี
    กล่าวโดยสรุปได้ว่า ความหมายของ “สุขภาวะ หรือ ความสุขของเด็กปฐมวัย” นั้น เราสามารถวัดได้จากปัจจัยขั้นพื้นฐานทางด้านร่างกายที่มีสุขภาพแข็งแรง เจริญเติบโตสมวัย มีสติปัญญาดี มีอารมณ์และจิตใจที่แจ่มใส มีความมั่นคงทางอารมณ์ มีความพึงพอใจในสิ่งต่างๆ รอบตัว มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง มีสมาธิ มีสุขภาพจิตดี ซึ่งความสุขของเด็กต้องมีพื้นฐานจากครอบครัวที่ดี การเลี้ยงดูที่เข้าใจและการส่งเสริมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการทุกๆ ด้าน และการฝึกปฏิบัติกิจกรรมศิลปะจะทาให้เด็กเกิด “สุขภาวะ” ได้และเกิดการสร้างประสบการณ์ความสุข และการเรียนรู้ที่ดี





กิจกรรม.............เพื่อการเรียนรู้อย่างมีความสุขของผู้เรียนระดับปฐมวัย

*ขั้นตอนการออกแบบและพัฒนาสื่อ/กิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนระดับปฐมวัย* ให้มีพัฒนาการด้าน.....ตามศักยภาพเป็นรายบุคคล [ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข ]

          1. “รู้จักเด็ก”  ด้วยการวิเคราะห์ผู้เรียน ลักษณะของผู้เรียน ช่วงอายุ ระดับพัฒนาการแต่ละด้าน (เน้นเฉพาะด้านที่ต้องการพัฒนาก็ได้) จำนวนผู้เรียนในชั้นเรียนนั้นๆ (ขนาดของชั้นเรียนหรือกลุ่มผู้เรียน)

2. “รู้จักชั้นเรียน” ด้วยการศึกษาข้อมูลบริบทอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีผลต่อการออกแบบกิจกรรม เช่น พื้นที่ ขนาดของห้องเรียน บรรยากาศและสภาพแวดล้อมใน/นอกห้องเรียน สภาพอากาศในช่วงเวลานั้น เป็นต้น

3. “รู้จุดหมายของการจัด” ด้วยการกำหนดเป้าหมาย/วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้

4. “รู้คิดหาวิธีสอนและสื่อ” คัดเลือกกิจกรรมซึ่งมีลักษณะของกิจกรรม/วิธีการ/เนื้อหา /วัสดุอุปกรณ์และสื่อที่ใช้ประกอบ ที่ครูผู้สอน (ผู้ออกแบบกิจกรรม) พิจารณาเลือกอย่างมีหลักวิชา (หลักการสอน/หลักการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมกับลักษณะกิจกรรม   - - ศึกษาได้จากคู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 และเอกสาร, ตำรา, งานวิจัยที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย)   - เมื่อคัดเลือกกิจกรรมได้แล้ว นำมากำหนดกิจกรรม จัดทำรายละเอียดต่างๆ ให้ครบทุกองค์ประกอบ  (ศึกษาองค์ประกอบของการเขียนแผนการจัดกิจกรรม / แผนการจัดประสบการณ์)  - ผู้สอนต้องทดลองจัดกิจกรรม ทบทวนขั้นตอนกระบวนการต่างๆ จนเกิดความชำนาญ ก่อนนำไปจัดกิจกรรมจริงในชั้นเรียน 

5. “รู้วิธีประเมินผล” สร้างและใช้เครื่องมือประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยที่เหมาะสม     เลือก/กำหนดวิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ สามารถใช้วัดผลและประเมินผลได้อย่างถูกต้องเหมาะสม  *ประเมินตามสภาพจริง

**ทุกวิธีการที่ใช้ประเมิน เริ่มจากวิธีการสังเกตพฤติกรรมผู้เรียนในประเด็นที่ต้องการประเมิน (ตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่กำหนดไว้) จากนั้นจึงเลือก/กำหนดเครื่องมือการประเมินที่เหมาะสม เช่น แบบบันทึกพฤติกรรม, แบบสำรวจรายการพฤติกรรม, แบบบันทึกคำพูด, แบบสัมภาษณ์, การจัดทำสารนิทัศน์สะท้อนพัฒนาการและการเรียนรู้ เป็นต้น

              เมื่อผู้สอนนำกิจกรรมที่ออกแบบไว้ไปจัดในชั้นเรียน จัดทำรายละเอียดข้อมูล แสดงหลักฐานเชิงประจักษ์ เช่น ภาพถ่ายขณะจัดกิจกรรม หลักฐานกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน ฯลฯ

การจัดทำสารนิทัศน์ - เป็นการจัดทำข้อมูลที่เป็นหลักฐานหรือแสดงให้เห็นร่องรอยของการเจริญเติบโต พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยจากการทำกิจกรรมทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม > บันทึกด้วยการเขียน ด้วยแถบบันทึกเสียงหรือแถบบันทึกภาพสะท้อนการเรียนรู้ของผู้เรียน เป็นต้น

 

                         ที่มา:

รศ.ดร.นันทิยา น้อยจันทร์. (มปป.) “การออกแบบการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการการเรียนรู้โดยใช้การทำงานของสมองเป็นฐานเอกสารบรรยาย รายวิชา ECC1302 การอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

 

 



 











 

พฤติกรรมความสุขของเด็กปฐมวัย
    ไดแอน ทิลแมน และไดอาน่า ซู (2543 : 92) กล่าวถึงพฤติกรรมความสุขของเด็กปฐมวัย
สามารถจำแนกได้เป็น 3 ด้าน
    1. ด้านสนุกสนานกับประสบการณ์แห่งความสุข เป็นการที่นักเรียนสนุกสนานกับแบบฝึกหัด "จินตนาการถึงโลกที่มีความสุข" สนุกกับการเล่นเกมกับเด็กๆ ในชั้น และการร้องเพลงที่ก่อให้เกิดความรู้สึกเป็นสุข
    2. ด้านเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับความสุข เป็นการที่นักเรียนสามารถสื่อสารเป็นคำพูดหรือภาพวาดถึงโลกที่เป็นสุข การระบุสิ่งดีๆ ที่นักเรียนมีส่วนร่วมทำในการพูดคุยถึงประเด็นสะท้อนความคิดว่า "เมื่อได้กระทำสิ่งที่ดี ก็เป็นสุขกับตนเอง" การค้นหาความรู้สึกของตนเอง เมื่อผู้คนพูดไม่ดหรือพูดดี และความคิดเกี่ยวกับวิธีที่เราจะให้ความสุขแก่ผู้อื่น
    3. ด้านเสริมสร้างทักษะทางสังคมสำหรับความสัมพันธ์ที่เป็นความสุข เป็นการระบุคำพูดที่
ทำร้าย ผู้อื่น และคำพูดที่ให้ความสุขแก่ผู้อื่น การมีส่วนร่วมในการพูดคุยในชั้นเรียนว่าจะสามารถอดทน
ทั้งกับตนเองและผู้อื่น การฝึกเป็นผู้มีความปรารถนาดีต่อทุกคนในห้องเรียนในช่วงที่ทำแบบฝึกหัดการ
อยู่อย่างเงียบๆ






วันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2566

การจัดทำรายงานการศึกษาเด็กรายกรณี และ แฟ้มสะสมผลงานการจัดกิจกรรมศิลปะระดับการศึกษาปฐมวัย

1. รายงานการศึกษาเด็กรายกรณี  [ศึกษาตัวอย่างรายงานและการนำเสนอรายงานฯ]
นักศึกษาจัดทำเนื้อหารายงานให้ครบถ้วนสมบูรณ์ทั้ง 9 หัวข้อ
(รายละเอียดอยู่ในเอกสารอ่านประกอบการเรียน)


2. แฟ้มสะสมผลงานการจัดกิจกรรมศิลปะระดับการศึกษาปฐมวัย 
(นำเสนอผลงานจากการฝึกปฏิบัติและการศึกษา-เรียนรู้ของนักศึกษา)
ศึกษารายละเอียดของกิจกรรมในรายวิชาฯ  เรียบเรียง จัดทำแฟ้มสะสมผลงานต่างๆ ที่ได้ฝึกปฏิบัติ และศึกษา-เรียนรู้ทั้งด้วยตนเอง และเรียนรู้ร่วมกัน ผ่านการค้นคว้า การนำเสนอ การอภิปราย ฯลฯ 
ตัวอย่างกิจกรรม : 
สรุปงานตลอดทั้งภาคเรียน จากการฝึกปฏิบัติกิจกรรมศิลปะอย่างน้อย 6 ประเภท 
(มีรายละเอียดขั้นตอนการจัดกิจกรรมทุกกิจกรรม) ดังนี้ 
1) การวาดภาพระบายสี
2) การทดลองเกี่ยวกับสี / การเล่นสี
3) การพิมพ์ภาพ
4) การพับ ฉีก ตัด ปะ กระดาษ
5) การปั้น
6) การประดิษฐ์ / การออกแบบสร้างสรรค์จากเศษวัสดุ
7) ...............................................................................

กิจกรรมศิลปะประเภทที่ 1-4  มีลักษณะกิจกรรมที่สามารถจัดเก็บลงในสมุดหรือแฟ้มสะสมผลงานได้ค่อนข้างง่าย  แต่ 2 ประเภทหลัง คือ การปั้น และ การประดิษฐ์ / หรือการออกแบบจากเศษวัสดุ งานมีลักษณะเป็นงานศิลปะ 2 มิติและ 3 มิติ ซึ่งนักศึกษาต้องฝึกปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ และ ฝึกปฏิบัติการจัดแสดงผลงานศิลปะ (ด้วยการจัด display  / หรือ จัดนิทรรศการ แสดงผลงาน) แล้วถ่ายภาพผลงาน บันทึกรายละเอียดต่างๆ จัดเก็บลงในสมุด เช่นเดียวกันค่ะ

...ตั้งใจทำงานกันนะคะ...
อ.ทิพจุฑา

วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2562

หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ และ คู่มือฯ สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า ๓ ปี, อายุ ๓ - ๖ ปี





1.หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐


กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐.
กรุงเทพมหานคร : สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.







Early Childhood Curriculum B.E. 2560 (A.D. 2017)

(2017). Bureau of Academic Affairs and Educational Standards,

Office of the Basic Education Commission, Ministry of Education.


Link download สำรอง :

2. คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า ๓ ปี


กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า ๓ ปี. กรุงเทพมหานคร : สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
Link download สำรอง :

3. คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ สำหรับเด็กอายุ ๓ - ๖ ปี


กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ สำหรับเด็กอายุ ๓ - ๖ ปี. กรุงเทพมหานคร : สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
Link download สำรอง :

วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ (ฉบับย่อ)

ปีที่พิมพ์ : 2562
ISBN : 978-616-270-221-1

มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ (ฉบับย่อ)
National Standard for Early Childhood Care,
Development and Education Thailand
สิ่งพิมพ์ สกศ. อันดับที่ ๔๒/๒๕๖๒
พิมพ์ครั้งที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๒
จำนวน ๓,๐๐๐ เล่ม

มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ (ฉบับย่อ) National Standard for Early Childhood Care, Development and Education Thailand
สารบัญ
มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ
- ความสำคัญของเด็กปฐมวัย
- อุดมการณ์และหลักการในการจัดการศึกษา เด็กปฐมวัยของชาติ
- เหตุผลที่ต้องมีมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ
- วัตถุประสงค์
- กลุ่มเป้าหมาย
- สาระของมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ
ภาคผนวก ๑ คำสั่งคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง
ภาคผนวก ๒ มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒ มกราคม ๒๕๖๒
คณะผู้จัดทำ



วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2562

มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ


มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ 
และ คู่มือมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ

  ...เป็นแนวทางการดำเนินงานสำหรับหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับการเลี้ยงดู ดูแล พัฒนาและจัดการศึกษาให้แก่เด็กปฐมวัยทุกระดับ  เพื่อให้ง่ายต่อหน่วยปฏิบัติ และการมีผลบังคับใช้ รวมถึงการติดตามผล การมีมาตรฐานกลางเดียวกันจะทำให้เด็กปฐมวัยทุกคนได้รับการเลี้ยงดู ดูแล และพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันไม่ว่าจะอยู่ในสถานพัฒนาของหน่วยงานหรือสังกัดใด ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัยของไทย

[จากกิตติกรรมประกาศ  ในเอกสาร 
"มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ National Standard for Early Childhood Care, Development and Education Thailand" 
มิถุนายน ๒๕๖๒.] 
Download : http://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/1677-file.pdf
หรือ http://www.onec.go.th/index.php/book/BookView/1677




ปีที่พิมพ์ : 2562
ISBN : 978-616-395-986-7
สารบัญ
มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ
          - ความสำคัญของเด็กปฐมวัย
          - อุดมการณ์และหลักการในการจัดการศึกษาเด็กปฐมวัยของชาติ
          - เหตุผลที่ต้องมีมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ
          - วัตถุประสงค์
          - กลุ่มเป้าหมาย
          - สาระของมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ

ภาคผนวก ๑ คู่มือมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ

          - มาตรฐานด้านที่ ๑ การบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
          - มาตรฐานด้านที่ ๒ ครู/ผู้ดูแลเด็กให้การดูแล และจัดประสบการณ์การเรียนรู้และการเล่นเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
          - มาตรฐานด้านที่ ๓ คุณภาพของเด็กปฐมวัย

ภาคผนวก ๒ แบบบันทึกการประเมินมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ

ภาคผนวก ๓ คำสั่งคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง

ภาคผนวก ๔ มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒ มกราคม ๒๕๖๒

เอกสารอ้างอิง

มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ

มาตรฐาน สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ  และ คู่มือมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ   ... เป็นแนวทางการดำเนินงาน สำหรับหน่วยงานที่มีภารกิจ...