วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556

การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย (งาน ส.13-16) ภาคเรียนที่ 2/2555

โครงการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาลักษณะนิสัยของเด็กปฐมวัย

งาน สัปดาห์ที่ 13-16 (ศุกร์ที่ 18 ม.ค. - ศุกร์ที่ 15 ก.พ.)

- วันพฤหัสบดีที่ 31 ม.ค. เริ่มส่งโครงการ (งานเดี่ยว) 
 
หัวข้อรายงาน  "การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาลักษณะนิสัยของเด็กปฐมวัย"
กำหนดลักษณะนิสัยที่ต้องการสร้างเสริม / หรือ ปลูกฝังให้แก่เด็กที่เป็นกรณีศึกษาให้ชัดเจน
เพียง 1 ประการ โดยพิจารณาจากข้อมูลรายงานภาคสนาม  ตามความต้องการจของกรณีศึกษา 

เนื้อหารายงาน (เขียนประกอบการเสนอโครงการและเสนอสื่อประกอบโครงการ
หลังจากที่ร่างโครงการ "ผ่าน" แล้ว - 31 ม.ค.56) : 
ส่วนที่ 1 โครงการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาลักษณะนิสัยของเด็กปฐมวัย 
              (อนุมัติให้จัดทำสื่อประกอบโครงการแล้ว)
ส่วนที่ 2 ข้อมูลกรณีศึกษา (นำมาจากรายงานภาคสนามของกลุ่ม)
ส่วนที่ 3 เนื้อหาเกี่ยวกับลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัย (เพิ่มเติม)
ส่วนที่ 4 การสร้างเสริมบุคลิกภาพ / ลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์ให้กับเด็กปฐมวัย เป็นการเสนอกิจกรรม และวิธีดำเนินกิจกรรม  โดยคัดเลือกกิจกรรมจากเอกสาร ตำรา งานวิจัยว่ามีความเหมาะสม (ค้นคว้าเพิ่มเติม โดยมีอ้างอิงอย่างชัดเจน) แล้วนำมาประยุกต์ใช้ ปรับปรุง ดัดแปลง ให้เหมาะสมกับการนำมาสร้างเสริมลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์ในด้านซึ่งนักศึกษาต้องการจัดให้แก่เด็ก
ระยะเวลาจัดกิจกรรม 2 สัปดาห์ๆ ละ 2 ครั้ง  
- มีตารางวางแผนดำเนินกิจกรรม (กำหนดวัน เวลา จำนวนกิจกรรม ต่อสัปดาห์ ฯลฯ)
- รายละเอียดของกิจกรรม ได้แก่
   1. จุดมุ่งหมาย (เขียนให้ครบทุกด้าน)
   2. แนวคิด (เป็นแนวคิด หรือหลักการที่นำมาใช้ในการจัดกิจกรรม)
   3. เวลาที่ใช้
   4. สื่อ
   5. ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม:  
        1) ขั้นนำ 
        2) ขั้นกิจกรรม 
        3) ขั้นวิเคราะห์ อภิปราย 
        4) ขั้นสรุป 
        5) ขั้นประเมินความรู้ความเข้าใจ
        6) ขั้นการนำไปใช้ 

ส่วนที่ 5 แบบประเมิน / หรือแบบสำรวจความคิดเห็น...... 
             (กิจกรรมส่วนที่ 5 และ 6 ปฏิบัติในชั้นเรียน ขณะเสนอโครงการและสื่อประกอบโครงการ)  
ส่วนที่ 6 บันทึกสรุปผลการประเมิน
ส่วนที่ 7 ภาคผนวก

การจัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ดีให้แก่เด็กปฐมวัย 

ขั้นตอนในการพัฒนาลักษณะนิสัยของเด็ก
จุดมุ่งหมายในการเรียนรู้ ประกอบด้วย จุดมุ่งหมายด้านความรู้ ความเข้าใจ ด้านการกระทำ และด้านจิตใจ ความรู้สึก และทัศนคติ จำแนกออกเป็น 4 ระดับ ซึ่งนำมาอธิบายขั้นตอนของการพัฒนาลักษณะนิสัยได้ ดังนี้ 
ขั้นที่ 1 ขั้นการรับรู้: จัดสิ่งเร้าให้รับรู้และเกิดความสนใจในเรื่องที่ต้องการปลูกฝัง
ขั้นที่ 2 ขั้นการตอบสนอง: จัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ที่ช่วยให้บุคคลนั้น ตอบสนองและเกิดความพึงพอใจ
ขั้นที่ 3 ขั้นการเห็นคุณค่า: ช่วยให้เห็นประโยชน์และคุณค่า มีความพึงพอใจในค่านิยม
ขั้นที่ 4 ขั้นการจัดระบบ: ช่วยให้มีโอกาสจัดระเบียบ สามารถนำเรื่องนั้นไปใช้ในระบบชีวิตของตน
ขั้นที่ 5 ขั้นการพัฒนาเป็นลักษณะนิสัย: ช่วยให้บุคคลนั้นได้ลงมือปฏิบัติตามค่านิยมนั้นอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ จนกระทั่งปฏิบัติได้เป็นลักษณะนิสัย

สรุป บุคลิกภาพที่พึงประสงค์ของเด็กไทย: 
1. สุขภาพร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง แต่งกายเหมาะสม สะอาด กิริยามารยาทงาม
2. รู้จักควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมของตน รู้จักอดทน อดกลั้น 
3. ยิ้มแย้มแจ่มใส รู้จักสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น มีลักษณะของผู้นำและผู้ตามที่ดี ยอมรับในความคิดเห็นและความสำคัญของผู้อื่น
4. แสดงความคิดเห็น หรือวิพากษ์วิจารณ์อย่างมีเหตุผล ยอมรับหรือปฏิบัติตามความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างมีวิจารณญาณ สามารถตัดสินใจด้วยตัวเอง และสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีเหตุผล 
5. มีความรับผิดชอบ 
6. มีความเชื่อมั่นในตัวเอง 
7. มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ 
8. มีความขยันหมั่นเพียร
9. รู้จักประหยัด
10. มีน้ำใจ
11. มีความกตัญญูรู้คุณ (ประดินันท์ อุปรมัย, 2545: 799)

ลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์สำหรับเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย: 
1. การช่วยเหลือตนเองและผู้อื่น
2. มีความรับผิดชอบ
3. มีกิริยามารยาทเรียบร้อย มีสัมมาคารวะ และรู้จักใช้วาจาที่เหมาะสม
4. มีความเชื่อมั่นในตนเอง รู้จักตัดสินใจด้วยตนเอง รู้จักแก้ไขปัญหาและกล้าแสดงออก
5. รู้จักทำงานรวมกลุ่มและปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้
6. มีระเบียบวินัย
7. ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ อดทน (ผุสดี กุฎอินทร์ และคณะ, 2539: 43)

คุณธรรมของคนไทย ประกอบด้วย : ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย สุภาพ สะอาด สามัคคี มีน้ำใจ กตัญญูกตเวที

ตัวอย่างหัวข้อรายงาน : 
1. การจัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ดี “การช่วยเหลือตนเอง” ให้แก่เด็กปฐมวัย
2. การจัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ดี “การช่วยเหลือผู้อื่น” ให้แก่เด็กปฐมวัย
3. การจัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ดี “ความมีระเบียบวินัย” ให้แก่เด็กปฐมวัย
4. การจัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ดี “การมีความรับผิดชอบ” ให้แก่เด็กปฐมวัย
5. การจัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ดี “ความซื่อสัตย์” ให้แก่เด็กปฐมวัย
6. การจัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ดี “ความขยัน” ให้แก่เด็กปฐมวัย
7. การจัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ดี “ความประหยัด” ให้แก่เด็กปฐมวัย
8. การจัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ดี “การทำงานรวมกลุ่ม” ให้แก่เด็กปฐมวัย
9. การจัดกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมบุคลิกภาพที่พึงประสงค์ “การแต่งกายที่เหมาะสม” ให้แก่เด็กปฐมวัย
10. การจัดกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมบุคลิกภาพที่พึงประสงค์ “การมีกิริยามารยาทงาม” ให้แก่เด็กปฐมวัย
11. การจัดกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมบุคลิกภาพที่พึงประสงค์ “ความกตัญญูรู้คุณ” ให้แก่เด็กปฐมวัย
12. การจัดกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมบุคลิกภาพที่พึงประสงค์ “การรู้จักควบคุมอารมณ์” ให้แก่เด็กปฐมวัย
13. การจัดกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมบุคลิกภาพที่พึงประสงค์ “การยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น” ให้แก่เด็กปฐมวัย
14. การจัดกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมบุคลิกภาพที่พึงประสงค์ “การเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี” ให้แก่เด็กปฐมวัย


ตัวอย่างเอกสารสำหรับการอ่านประกอบและศึกษาค้นคว้า 
ธีราพร กุลนานันท์. (2542). การพัฒนาลักษณะนิสัยทางจริยธรรมสำหรับเด็กปฐมวัย.
           นครสวรรค์: สถาบันราชภัฎนครสวรรค์.
ประดินันท์ อุปรมัย. (2545). การสร้างเสริมบุคลิกภาพที่พึงประสงค์ให้กับเด็ก 
           ใน เอกสารประกอบการสอนชุดวิชา พัฒนาการเด็กและการเลี้ยงดู (หน้า 775–808). 
           พิมพ์ครั้งที่ 16. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ผุสดี กุฎอินทร์ และคณะ. (2539). แนวคิดในการสร้างเสริมลักษณะนิสัยเด็กปฐมวัย 
           ใน เอกสารการสอนชุดวิชา การสร้างเสริมลักษณะนิสัยระดับปฐมวัยศึกษา (หน้า 37-83).
           พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 
วราภรณ์ รักวิจัย. (2540). การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ต้นอ้อ แกรมมี่.

มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ

มาตรฐาน สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ  และ คู่มือมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ   ... เป็นแนวทางการดำเนินงาน สำหรับหน่วยงานที่มีภารกิจ...